ประเมินผลโครงการพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินแรกรับและการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • อรอุมา มะกรูดทอง หอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • มยุรี เมฆทัศน์ หอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • ทิพย์สุดา พรหมดนตรี หอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • จินตนา ดำเกลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ผู้สูงอายุ, รูปแบบซิปป์

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทย ปี พ.ศ.2560-2562 พบอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลหาดใหญ่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลจากหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยและเพิ่มผลลัพธ์การดูแล และประเมินผลโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในกระบวนการปรับปรุงการดำเนินงาน ลดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเสียชีวิต เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการให้บริการที่เป็นเลิศ (service excellence)

วัตถุประสงค์: ประเมินผลโครงการพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินแรกรับและการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล (evaluation research design) ศึกษาในกลุ่มพยาบาลห้องฉุกเฉินและหัวหน้าหอผู้ป่วยที่รับผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 42 ราย และผู้ป่วยจำนวน 45 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย

ผลการศึกษา: การประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ พบว่าด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์อยู่ในระดับดีมาก

สรุป: โครงการพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินแรกรับและการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและองค์กร

คำสำคัญ: ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้สูงอายุ รูปแบบซิปป์

References

World Health Organization. Global report on the epidemiology and burden of sepsis: current evidence, identifying gaps and future directions. [internet]. 2020; [cited 2022 Apr 12]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/334216.

กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. เล่มแผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2562; [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://bie.moph.go.th/e-insreport/.

Rowe TA, McKoy JM. Sepsis in older adults. Infect Dis Clin North Am. 2017;31:731-42.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข. แผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข; 2566.

สถิติหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลหาดใหญ่. สถิติผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินปี พ.ศ. 2560-2562. โรงพยาบาลหาดใหญ่; 2560-2562.

Stufflebeam, Shinkfield. Evaluation Theory, Models and Applications. John Wiley and Son, Ine; 2007.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, ศิริพร ขัมภลิขิต, และทัศนี นะแส. วิจัยทางการพยาบาล: หลักการและกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: เทมการพิมพ์; 2539.

Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. 9th edition. Lippincott; 2012.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดียจำกัด; 2553.

จิราพร ศรีพิบูลย์บัติ, ธิติพร เที่ยงแป้น, วันดี แย้มจันทร์ฉาย. ผลลัพธ์ของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39:638-46.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ ไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด; 2563.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

ดุษณี ยศทอง. ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลและแนวทางการแก้ไข: การจัดการปัจจัยระดับบุคล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2561;20:134-43.

สิรินทร วิบูลชัย, วนิดา เคนทองดี, พรพิมล คำประเสริฐ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563:38:119-28.

พิชญพันธุ์ จันทระ, สมพร ศรีทันดร, ฐิตินันท์ วัฒนะชัย, ณัฐพล ยุวนิช, กิตติศักดิ์ หมั่นเขตรกิจ, วรวรรณ สัมฤทธิ์มโนพร, นุชนารถ เขียนนุกูล. ผลการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบมุ่งเป้าอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมงของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2565;5:68-82.

Evans L, Rhodes A, Alhazzani W, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Med 2021;47:1181–247. doi.org/10.1007/s00134-021-06506-y.

กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2560;34:222-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30