ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ เหลืองอรุณ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม, โรงพยาบาลทุ่งสง

คำสำคัญ:

การเข้าถึงบริการล่าช้า, ความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือด, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI มีสาเหตุจากการอุดตันด้วยลิ่มเลือดในหลอดเลือดหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอย่างเฉียบพลัน จำนวนผู้ป่วยและอัตราเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นทุกปี การได้รับยาละลายลิ่มเลือดในระยะเวลาที่กำหนดเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้สูงขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดตัวชี้วัดให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาที นับจากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล จากการศึกษาที่ผ่านมายังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งยังคงได้รับยาล่าช้า โดยมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันไป

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล่าช้าในการการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI

วัสดุและวิธีการศึกษา :  เก็บข้อมูลย้อนหลังของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2560 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2564 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบบันทึกข้อมูลปัจจัยการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-square และ independent t-test

ผลการศึกษา : จากกลุ่มตัวอย่าง 139 คนพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ ได้แก่ ระยะเวลาในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระยะเวลาที่แพทย์วินิจฉัยและสั่งการรักษา ระยะเวลาในการยินยอมให้ยาของผู้ป่วยและญาติ และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมาถึงห้องฉุกเฉินจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด

สรุป : ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าดังกล่าว ได้แก่ ระยะเวลาในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระยะเวลาที่แพทย์วินิจฉัยและสั่งการรักษา ระยะเวลาในการยินยอมให้ยาของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลา System delay ปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว และลดอุบัติการณ์การเจ็บป่วยและเสียชีวิต

คำสำคัญ : การเข้าถึงบริการล่าช้า ความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI

References

พรทิพย์ สารีโส. หลักการพยาบาลผู้สูงอายุระบบหัวใจและหลอดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2565.

นพดล ชำนาญผล. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI = Acute ST-segment elevation myocardial infarction. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2563.

กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease (CAD) ปี พ.ศ. 2561.กรมควบคุมโรค; 2561.

ณัชฐรัตน์ ธนธรีวงษ์, นพวรรณ มาดารัตน์, กมลพรรณ อินนุพัฒน์. สถิติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2562. นนทบุรี: สำนงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2559-2563. กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

Borja Ibanez, Stefan James, Stefan Agewall, Manuel J Antunes, Chiara Bucciarelli-Ducci, Héctor Bueno, et al. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation. Eur Heart J. 2018 Jan 7;39(2):119–77.

สมาคมแพทย์หัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมแพทย์มัณนากรหัวใจและหลอดเลือดหัวใจแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย. แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ.2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์; 2563.

พรทิพย์ อัคนิจ, ประมวลรัตน์ พจนา. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI ในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561;21(1):99–112.

งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลทุ่งสง. รายงานสถิติประจำปี พ.ศ.2561-2564. โรงพยาบาลทุ่งสง; 2564.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). บัญชีตัวชี้วัดเปรียบเทียบระบบสารสนเทศเปรียบเทียบวัดระดับคุณภาพโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร; 2564.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. 2565.

กฤษดา จวนวันเพ็ญ, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, บุญจง แซ่จึง. การพัฒนารูปแบบการจัดการพยาบาลผู้ป่วยรายกรณีสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2557;20(1):80–94.

จินตนา ชมภูโคตร, สมจิต แดนสีแก้ว. การทำงานของเครือข่ายชุมชนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องทางด่วนของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;35(4):132–9.

จิราวรรณ รุ่งเรืองวารินทร์, ศรีสุรีย์ สูนพยานนท์, อัญชลี คงสมบุญ. การพัฒนาระบบส่งต่อช่องทางด่วนผู้ป่วย STEMI จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2559;6(1):1–14.

ฉลองชัย ทุนดี. ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการเข้ารับการรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อตายเฉียบพลัน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2563;35(3):757–63.

พัชราภรณํ อุ่นเตจ๊ะ, ศิริอร สินธุ. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (STEMI) เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2554.

อรรถวุฒิ พรมรัตน์, กรรณพร บัวลีวรรณ. การพัฒนาแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2564;5(10):115–26.

วัชระ ก้อนแก้ว, อภินันท์ ชูวงษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วาสารแพทย์เขต 4-5. 2563;39(1):11–24.

นริชรา โตรตประทุม. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหัวใจ : กรณีศึกษา 2 ราย. ยโสธรเวชสาร. 2565;24(1):98–105.

ภัทรสิริ พจมานพงศ์, ดวงกมล สุขทองสา, เบญจมาศ ตระกูลงามเด่น, ยุพา วงศ์รสไตร. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการล่าช้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก ของโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรคหัวใจและทรวงอก. 2562;30(2):157–75.

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด. การศึกษาสถานการณ์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และการทบทวนวรรณกรรมการพัฒนาคุณภาพปฏิบัติการฉุกเฉินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI. กลุ่มงานวิจัย สำนักงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30