ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกในการผ่าตัด แบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลพังงา
คำสำคัญ:
การระงับความรู้สึก, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับบทคัดย่อ
บทนำ: การให้ยาระงับความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ทีมวิสัญญีมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมศัลยกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง โดยศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลพังงา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 188 ราย เพศชาย 95 ราย เพศหญิง 93 ราย โรคประจำตัวพบมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 43.62 ระดับ ASA class II ร้อยละ 70.70 ทำหัตถการการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่มากที่สุดร้อยละ 61.70 ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 38.84 นาที ผู้ป่วยได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปชนิดฉีดยาสลบเข้าทางหลอดเลือดดำร้อยละ 56.90 ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีผู้ป่วย 38 ราย(ร้อยละ 20.21) เกิดภาวะแทรกซ้อน และพบภาวะแทรกซ้อนในระหว่างได้รับยาระงับความรู้สึกมากที่สุด คือความดันโลหิตสูงร้อยละ 5.32 และหลังให้ยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น พบอาการปวดมากที่สุดร้อยละ 4.25 ความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังจำหน่ายอยู่ระดับดีมากมีคะแนนเฉลี่ย 4.79
สรุป: แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ สามารถนำมาใช้ได้ ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระดับดีมาก
คำสำคัญ: การระงับความรู้สึก, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
References
ทวี รัตนชูเอก. บรรณาธิการ. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560. หน้า 1-10.
ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. บรรณาธิการ. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2562. หน้า 11-25.
มิ่งขวัญ วงษ์ยิ่งสิน. Safety Flow for One Day Surgery: Anesthetic Viewpoint. ใน: ฐิติกัญญา ดวงรัตน, บรรณาธิการ. Safety in One Day Surgery (ODS) ความปลอดภัยของการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2561. หน้า 7-16.
ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. Case Selection and Choices of Anesthetic Techniques: How We Set Up for the Safety Procedures ODS การเลือกผู้ป่วยและวิธีการทางวิสัญญี เพื่อความปลอดภัยในหัตถการ ODS. ใน: ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. บรรณาธิการ. Safety in One Day Surgery (ODS) ความปลอดภัยของการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2561. หน้า 1-5.
สมรัตน์ จารุลักษณานันท์. ความปลอดภัยในการให้ยาแก้ปวดและยาเสริมสำหรับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ใน: ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. บรรณาธิการ. Safety in One Day Surgery (ODS) ความปลอดภัยของการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2561.หน้า 17-21.
อวยพร จงสกุล, นารีรัตน์ อยู่สมบูรณ์ และศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแบบครบวงจรของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารแพทย์แพทย์เขต 4-5 2563; 39: 109-25.
นภาพร ชูนาม, สิริรัตน์ แสงจันทร์, ปิณฑกานต์ อุไรวัฒนา. การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อน ทางวิสัญญี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ 2555.
ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด(Clinical Guidance for Acute Postoperative Pain Management) ฉบับที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.; 2562.
ผาณิบุศย์ วัลลภา ช่างเจรจา, สุนันท์ นกทอง. ผลการพัฒนาระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2562; 2: 50-6.
ธิดา ยุคตวรานันท์. เรื่องการพัฒนาระบบการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในเขตสุขภาพที่10.วิสัญญีสาร 2559; 42: 116-22.
กรรณิการ์ ศุภกิจอนันต์คุณ, ธวัช ธรรมบวร, สุจิตรา ตันทัดประเสริฐ. ที่ศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลอุดรธานี. [Online]. 2019 July 07 [cited 2020 July 20]; [7 screens]. Available from: URLhttp://203.157.168.38/web/r2rforlum/pages/indexview.php ?no _id=000000000114
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น