ความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ปกครองที่พาเด็กมารับบริการ ที่คลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในโรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช ศรีนวลเอียด กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลทุ่งสง
  • ปิยะนุช ศรีนวลเอียด กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลทุ่งสง

คำสำคัญ:

ความเครียด, พฤติกรรมการจัดการความเครียด, ผู้ปกครองผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

บทคัดย่อ

บทนำ ปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นพบได้บ่อยและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ผู้ปกครองเด็กอาจเผชิญกับภาวะเครียด ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของเด็กได้ในระยะยาวด้วย ดังนั้นความเครียดและการจัดการความเครียดของผู้ปกครองผู้ป่วยโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นจึงมีความสำคัญ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเครียด พฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ปกครองผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด

วิธีการศึกษา การศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปกครองที่พาเด็กและวัยรุ่นมารับการรักษาที่แผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.ทุ่งสง ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 จำนวน 300 คน

ผลการศึกษา พบผู้ปกครองของผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นส่วนใหญ่มีความเครียดระดับปานกลาง จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 59.7 และมีพฤติกรรมจัดการความเครียดในระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลกับความเครียดของผู้ปกครองคือ ความเพียงพอของรายได้และความรุนแรงของอาการเด็ก โดยกลุ่มที่มีรายได้ไม่เพียงพอจะมีความเครียดมากกว่ากลุ่มที่รายได้เพียงพอ 2.93 เท่า (p < 0.05) และกลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของอาการเด็กมากกว่า จะมีคะแนนความเครียดเพิ่มมากขึ้น

สรุป ผู้ปกครองผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นมีความเครียดและมีพฤติกรรมจัดการความเครียดอยู่ในระดับ          ปานกลาง ความเพียงพอของรายได้และความรุนแรงของอาการเด็ก เป็นปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับความเครียด ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาระบบการดูแลเด็กและผู้ปกครองได้ดีขึ้น

คำสำคัญ ความเครียด พฤติกรรมการจัดการความเครียด ผู้ปกครองผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2563.

โรงพยาบาลทุ่งสง. ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยรายปี จากระบบ HosxP ของโรงพยาบาลทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) (Combat 4th Wave of COVID-19 : C4).

Karen O’Connor, Margo Wrigley, Rhona Jennings, Michele Hill and Amir Niazi. (2021). Mental health impacts of COVID-19 in Ireland and the need for a secondary care mental health service response. Irish J Psychol Med. 38, 99–107.

Christensen D, Fahey MT, Giallo R, Hancock KJ. Longitudinal trajectories of mental health in Australian children aged 4-5 to 14-15 years. PLoS ONE 2017;.12: e0187974.

Darlami K, Ponnose R, Jose P. Caregiver's stress of psychiatric patients. J Universal College Med Sci 2015;3:39-43.

Plass-Christl A, Otto C, Klasen F, Wiegand-Grefe S, Barkmann C, Hölling H, Schulte-Markwort M, Ravens-Sieberer U. Trajectories of mental health problems in children of parents with mental health problems: results of the BELLA study. Eur Child Adolesc Psychiatry 2018;27:867-76.

Nik Adib NA, Ibrahim MI, Ab Rahman A, Bakar RS, Yahaya NA, Hussin S, Wan Mansor WNA. Perceived Stress among Caregivers of Children with Autism Spectrum Disorder: A State-Wide Study. Int J Environ Res Public Health 2019; 16:1468.

Minichil W, Getinet W, Derajew H, Seid S. Depression and associated factors among primary caregivers of children and adolescents with mental illness in Addis Ababa, Ethiopia. BMC Psychiatry 2019;19:249.

Chunvirut S. Prevalence of depression and social support in mothers of children with autism aged 3-10 years at outpatient department, Rajanukul institute (Thesis). Bangkok: Psychiatric Department, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. (in Thai) Chula Med J Vol. 57 No. 2 March - April 2013:223-38.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมพ์มาศ ตาปัญญา. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง: วารสารสวนปรุง กันยายน 2540 - เมษายน 2541/ปีที่ 13 ฉบับที่ 3, 1-20.

กษมา ยาโกะ, อารี จำปากลาย. Factors Associated with Coping Behaviors of People Affected by the Unrest in the Deep South of Thailand. PNUIR 2018;10, 57–70.

Sangritdech M, Wacharasindhu A. Stress, coping behaviors and related-factors in mothers of child with ADHD at Outpatient Department of Child and Adolescent Psychiatric Clinic, King chulalongkorn Memorial Hospital.Chula Med Bull Vol.1 No.5 September-October 2019; 451-61.

Maridal H, Bjorgass H, Hagen K. Psychological distress among caregivers of children with neurodevelopmental disorder in Nepal. Int J Environ Res Public health 2021;18:2460.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30