การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยคลินิกวัณโรคใน โรงพยาบาลนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การดูแลผู้ป่วยวัณโรค, วัณโรคบทคัดย่อ
บทนำ : ในปัจจุบันอุบัติการณ์ของวัณโรคปอดเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลก การป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรคให้สำเร็จต้องเริ่มจากการรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หายขาดด้วยการรับประทานยารักษาวัณโรคอย่างต่อเนื่องและไม่เกิดภาวะดื้อยา จึงพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยคลินิกวัณโรคให้สามารถป้องกันควบคุมโรคได้ตามค่าเป้าหมายที่วางไว้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานและผลของการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยคลินิกวัณโรคในโรงพยาบาลนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ใช้แนวคิด Kemmis & Mc Taggart เก็บข้อมูลจาก ผู้ป่วยวัณโรคที่กำลังรับการรักษาในคลินิกวัณโรคและรายใหม่ ระหว่าง 1 มิถุนายน 2564 – 30 กันยายน 2565
ผลการศึกษา : รูปแบบการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยคลินิกวัณโรค 3I โมเดล ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคอย่างเข้มข้น (Intensive care)2) การจัดการดูแลรักษาและป้องกันวัณโรคอย่างบูรณาการ (Integrated management) 3) การพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมวัณโรค (Improvement surveillance) ความรู้เรื่องวัณโรคปอดหลังการดำเนินงานดีกว่าก่อนดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 94.28 สูงกว่าเป้าหมาย (ร้อยละ 90) และสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (ร้อยละ 84.61)
สรุป : การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยคลินิกวัณโรคปอดส่งผลให้ความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคมากกว่า ร้อยละ 90
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ การดูแลผู้ป่วยวัณโรค วัณโรค
References
World Health Organization. Tuberculosis [Internet].[cited 2020 March 7]. Available from:https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis.
World Health Organization. Global tuberculosis report 2020. Geneva: World Health Organization; 2020.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-2564 (เพิ่มเติม 2565). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564
โปรแกรมระบบฐานข้อมูลวัณโรคออนไลน์.ข้อมูลโรงพยาบาลนาบอน ปี 2559-2563. [อินเทอร์เน็ต]; 2564. [สืบค้นเมื่อ 10มิถุนายน 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ntip.ddc.moph.go.th/ UIForm/MainFeedSummary.aspx.
Kemmis, & Wilkinson, M. Participatory action research and the study of practice. In B. Atweh; 1990.
อัจฉราวดี บุญยสิริวงษ์. การพัฒนาคุณภาพบริการสำหรับผู้ป่วยวัณ โรคระยะเข้มข้นและครอบครัว โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนดร. งานนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553
Bloom, B.S., Hastings, T. J., Madaus, G. F.Hand Book on Formative and Summative. Evaluation of Student Learning. New York: McGraw – Hill Book Company; 1971
Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc; 1977
สุรเดช ชวะเดช. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาการรักษาวัณโรคแบบ DOT อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 2561; 8(3): 340-51.
เฉลิมเกียรติ ตาตะมิ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, สุทิน ชนะบุญ. การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในพื้นที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอ ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 2562; 26(2): 36-47.
ไพรัช ม่วงศรี วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และวิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร. ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรมต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่. วารสาร มฉก. วิชาการ 2555; 16(31) กรกฎาคม – ธันวาคม : 31–48.
วัฒนา สว่างศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2562; 16(3): 116-29.
อัครินทร์สูฝน. การพัฒนาเครือข่ายปากสวยโมเดลต่อการดูแลผู้ป่วยวัณโรค. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 2563; 23(2): 93-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น