การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุรูปแบบธรรมานามัยโดยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

ผู้แต่ง

  • ภุชงค์กร จินดาพล วิทยาลัยเทคนิคพังงา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุ, ธรรมานามัย, ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย, ผู้สูงอายุกลุ่มดี

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวได้ถูกพัฒนารูปแบบขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์อย่างมากมาย ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม หรือจะเป็นการท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตชนบท เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มในขณะนี้ นั่นคือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)ซึ่งในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพถูกกำหนดให้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพแห่งเอเชีย (Health Hub of Asia or Medical Hub of Asia) ตามนโยบายการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม และด้วยจำนวนของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้แนวโน้มการท่องเที่ยวในกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้นด้วยตามสถิติการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุ(1) จึงสมควรมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุให้สอดคล้องตามความต้องการของผู้สูงอายุ เช่น การส่งเสริม หรือการบำบัดทางสุขภาพให้เหมาะสมกับบุคคล รายการจัดนำเที่ยวที่เหมาะสมกับสุขภาพส่วนบุคคล สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ การแบ่งกลุ่มของผู้สูงอายุสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ (1) กลุ่มติดสังคม (2) กลุ่มติดบ้าน (3) กลุ่มติดเตียง(2) โดยจะเลือกกลุ่มที่เป็นกลุ่มติดสังคม และกลุ่มติดบ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุชนิดกลุ่มดีที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้แต่อาจมีโรคประจำตัวที่ไม่รุนแรง หรือเป็นอุปสรรคในการท่องเที่ยว รูปแบบทางการแพทย์ที่ใช้ในการส่งเสริมและบำบัดสุขภาพนั้น จะใช้ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยโดยส่งผลต่อสภาพจิตใจและสุขภาพที่ดีเป็นสำคัญ เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนั้นเป็นเพียงทางเลือกในการส่งเสริมหรือบำบัดสุขภาพให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่การรักษาแต่อย่างใด โดยทฤษฎีหลักที่จะหยิบยกนำมาใช้เป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริมและบำบัดคือ หลักธรรมานามัยมีหลักการสำคัญอยู่ 3 ด้าน คือ (1) กายานามัย (2) จิตานามัย (3) ชีวิตานามัย หรือที่เรียกว่า การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยวิถีธรรมชาติ(3)รูปแบบการท่องเที่ยวจะต้องเป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ กิจกรรม โปรแกรมสุขภาพ ตลอดไปจนถึงอาหาร ที่จะต้องไม่ส่งผลกระทบในด้านไม่ดีต่อสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะประสบปัญหาด้านสุขภาพใน 10 โรคดังนี้ (1) โรคทางสมอง (2) โรคเกาต์ (3) โรคเบาหวาน (4) โรคระบบทางเดินปัสสาวะ (5) โรคข้อเข่าเสื่อม (6) โรคกระดูกพรุน (7) โรคตา (8) โรคไต (9) โรคความดันโลหิตสูง (10) โรคหัวใจขาดเลือด(4) โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่เมื่อมีอายุเข้าสู่วัย 50 ปี ร่างกายก็จะเสื่อมลงซึ่งทำให้มีโรคต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา โดยผู้สูงอายุที่พบโรคนี้อาจจะอยู่ในช่วงเริ่มแรกหรือไม่แสดงอาการหรืออาจจะแสดงอาการเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ แต่ถ้าหากผู้สูงอายุที่พบว่าเป็น 10 โรคนี้ในภาวะที่กำลังรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือแสดงอาการแบบรุนแรงก็ควรที่จะเลี่ยงหรือห้ามมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหรือขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและการวินิจฉัยของแพทย์แผนปัจจุบัน จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทำให้สามารถออกแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมและมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมายที่มีความพร้อมและเหมาะสมในการจัดกิจกรรมเนื่องจากมีการยอมรับว่าเป็นสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ สงบ เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อน โดยการคัดเลือกจากแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีศักยภาพและสถานภาพ ดังนี้ (1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (2) สภาพแวดล้อมด้านสังคม (3) สภาพแวดล้อมทางการจัดการ(5) เป็นต้น หลักการที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นแนวทางที่สำคัญเพื่อจัดการหรือป้องกันตนเองด้านสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อทำการส่งเสริม และบำบัดโรคให้หายโดยไม่ให้เกิดโรคซ้ำ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เป็นภาระในการดูแลรักษาสุขภาพให้กับคนใกล้ชิด ทำให้เกิดคุณค่าในตัวเอง และมีแรงจูงใจ มุ่งหวัง ในการทำกิจที่สร้างสรรค์ และมีประโยชน์ต่อไป

References

Eliopoulos C. Gerontological Nursing. 7thed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2010. (9)

Global Wellness Institute: GWI, 2014.Available from:https://globalwellnessinstitute.org/ industry-research/global-spa-wellness-economy-monitor-2014/ (6)

Greenberg, G.M. (1999). Understanding the Older Consumer: the Grey Market, Choice, 36, 1662-3.(19)

Mc Guire CL, Strine WS, Okoro AC, Ahluwalia IB, Ford SE. Healthy Lifestyle Behaviors Among Older U.S. Adults With and Without Disabilities, Behavioral Risk Factor Surveillance System. (Internet). 2003 (Cited 2007 March 7). Availablefrom:http://www. cdc.gov/pcd/issues/2007/jan/06_0029.htm. (11)

MGR online. (2010). Touring Throughout Thailand with 7 Greens: Manager online. RetrievedSeptember19,2014,from:http//www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000099875.(16)

World Health Organization Ageing and Life Course (Internet). 2005 (Cited 2005 Dec. 2). Availablefrom:http://www.who.int/ageing/en. (3)

พันเอกหญิง อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์, การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยภูมิปัญญาไทย. วารสารพยาบาลตำรวจ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557.(8)

วารีพร ชูศรี และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2563. (7)

วิพรรณ ประจวบเหมาะ (2555). ประชากรสูงอายุไทยในรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553: มูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (18)

สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์, รักธิดา ศิริ และพัฒนพงศ์ จันทร์สว่าง(2558). การศึกษาและพัฒนาทักษะชุมชนในการสร้างเส้นทาง และโปรแกรมท่องเที่ยว Green Tourism อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (15)

ศุภกิจ ยิ้มสรวล. แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวย ความสะดวกทางการท่องเที่ยว และภูมิสถาปัตยกรรม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทน้ำพุร้อน: เจ-ดี วาร สารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2561. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.(5)

ศูนย์สื่อสารสาธารณะ (2564). 3 กลุ่มผู้สูงวัย ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง ปลอดภัยจากโควิด-19: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ 12 กรกฎาคม 2564. (2)

สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย (2541). สถานภาพของผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2541. สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (1)

สุกรี กาเดร์ (2561). หลักธรรมานามัย. คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. (3)

สมศักดิ์ ชุนหรัศมิ์ (2552). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : บริษัท ทีคิวพี จำกัด. (8)

อุทัย สุดสุข, พิทยา จารุพูนผล, ประยูร ฟองสถิตกุล, จรัล เกวลินสฤษดิ์, สัมฤทธิ์ จันทราช, จรรยา เสียงเสนาะ และคณะ (2552). การศึกษาสถานการณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความต้องการ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (12)

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, สถาพร แถวจันทึก, อัจฉรา สุขสำราญ (2559). ผลลัพธ์และแนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน : วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย ครั้งที่ 11 ฉบับที่ 3 หน้า 54-61 ภาควิชาการพยาบาลการอนามัย และจิตเวช. วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (17)

โมเดลธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการพักผ่อน (2561).สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.). (14)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01