ผลลัพธ์ของการผ่าตัดแบบเจาะและไม่เจาะถุงน้ำดีในการผ่าตัดแบบส่องกล้องร่วมกับการใช้ ถุงรองรับชิ้นเนื้อในผู้ป่วยโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • สุนทร ธีรพัฒนพงศ์

คำสำคัญ:

การผ่าตัดแบบส่องกล้อง, ถุงรองรับชิ้นเนื้อ, โรคนิ่วในถุงน้ำดี

บทคัดย่อ

บทนำ : ผลลัพธ์ของการผ่าตัดแบบส่องกล้องแบบเจาะและไม่เจาะถุงน้ำดีในกรณีเลือกใช้และไม่ใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อในผู้ป่วยโรคถุงน้ำดีอักเสบเป็นที่น่าศึกษาวิจัย มุ่งผลลัพธ์ที่การติดเชื้อของแผล และการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับผ่าตัดโดยใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อที่ประดิษฐ์ขึ้น

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการผ่าตัดแบบเจาะและไม่เจาะถุงน้ำดีในการผ่าตัดแบบส่องกล้องร่วมกับการไม่ใช้หรือใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อ

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงทดลองไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบส่องกล้องในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และบุคลากรห้องผ่าตัด ระหว่างเดือนเมษายน 2563 – พฤศจิกายน 2564 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยและผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ถุงรองรับชิ้นเนื้อ

ผลการวิจัย : การสูญเสียเลือดในกลุ่มที่ 1 ต่ำสุด ระยะเวลาในการผ่าตัดและระยะเวลาการหายในกลุ่มที่ 4 ต่ำสุด ความปวดในทุกกลุ่มใกล้เคียงกัน กลุ่มที่ 2 มีการรั่วของน้ำดีมากสุด พบการติดเชื้อของกลุ่มที่ 1 และ 4 ความพึงพอใจด้านการใช้งานถุงรองรับชิ้นเนื้อสะดวกไม่เกิดปัญหามีค่าเฉลี่ยสูงสุด

สรุป : ผลการวิจัยนำไปสู่การสร้างแนวปฏิบัติเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการผ่าตัดที่หลากหลาย การเลือกวิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ การผ่าตัดแบบเจาะถุงน้ำดีทำให้มีน้ำดีรั่วมากกว่า สมควรมีถุงรองรับ ถุงรองรับชิ้นเนื้อที่ทำเองสามารถใช้อย่างปลอดภัยและผู้ใช้มีความพึงพอใจ

References

วิริยพร ฤทธิทิศ. โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร ; 2564.

พินิจ กุลละวณิชย์. โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน. คอลัมน์ พินิจ-พิจารณ์ แนวหน้า. [ออนไลน์] 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565]; Available from: https://www.naewna.com/lady/columnist /52588.

Thanomsin Kanmali. Effectiveness on Laparoscopic Cholecystectomy with Intraoperative Gallbladder Drainage for Patients with Acute Calculous Cholecystitis, Kalasin Hospital. Journal of the Association of General Surgeons of Thailand under the Royal Patronage of HM the King. 2563(2): 31-40.

Gabbe SG, Niebyl JR, Galan HL, Jauniaux ERM, Landon MB, Simpson JL, et al. Obstetrics: Normal and Problem Pregnancies. Elsevier Health Sciences; 2012.

Prathanvanich P. Single Incision Laparoscopic Cholecystectomy : SILC. Healthy Bangkok. 2016; 4(2):6-8.

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. Gall Stone : แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม. [ออนไลน์] 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565]; Available from: http://www.rcst.or.th/view.php?group=8&id=204.

Manositisak P. Comparative Study Between Modified Three–Port and Standard Four–Port Laparoscopic Cholecystectomy in Kalasin Hospital. Srinagarind Medical Journal, 2010;25(3):228-32.

Suraseang K. Laparoscopic Cholecystectomy (LC): A comparison study between The single- incision and the three-port LC. Srinagarind Med J. 2013;28(1):66-76.

Loeivanichjaroen S. One-Incision 3-port Laparoscopic Cholecystectomy at Mahasarakham Hospital. Buddhachinaraj Med J. 2011;28(3):273-8.

Emblem A. Plastics properties for packaging materials. [Online] 2012 [Cited October 16, 2022] Available From: https://www.sciencedirect.com/topics/chemical- engineering/polyvinylidene-chloride.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01