ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการป้องกัน โรคฟันผุในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะฟันผุกรณีศึกษา โรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ซัมซูดีน เจะเฮาะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นวพร วงศ์สุวรรณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โรคฟันผุ, เด็กวัยเรียน, ประถมศึกษาปีที่ 1-3

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น

วัตถุประสงค์: ศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของของผู้ปกครองในการป้องกันโรคฟันผุ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะฟันผุ

วัสดุและวิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางในผู้ปกครองนักเรียนประถมชั้นปีที่ 1 - 3ที่มีภาวะฟันผุ ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 47 คนเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของผู้ปกครองเด็กโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน

สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการป้องกันโรคฟันผุคือ อายุ และความรู้บุคคลากรทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจึงควรมุ่งเน้นการเสริมแรงทางบวกให้ผู้ปกครองนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตูสู่สุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2555.

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. [ออนไลน์] 2561 [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2562]. Available from http://www.anamai/.ecgates.com/

อุฬาริกา โยสิทธิ์. พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนโดยผู้ปกครองของ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่าผาอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Bloom B.S. Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay; 1964.

กันทิมา เหมพรหมราช. พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ในเขตนครชัยบุรินทร์.วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[ออนไลน์] 2557 [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2562]; 22(3): 58-68. Available from https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/768/643

ปริญญา จิตอร่าม และ กุลนาถ มากบุญ. พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพ ช่องปากเด็กอายุ 3 -5 ปี. วารสารทันตาภิบาล2557;25 (1):26-41.

อุดมพร รักเถาว์ และ จารุวรรณ วงษ์เวช. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558;2(1) : 52-64.

นิตยา นิยมการ. ความรู้การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง ศูนย์เด็กเล็กตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารสุขศึกษา 2554;34(119):38-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01