ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิเสธการบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การปฏิเสธการฟอกไต, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การบำบัดทดแทนไตบทคัดย่อ
บทนำ: โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจำเป็นจะต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต แต่มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ปฏิเสธการรักษาด้วย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการรักษาไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิเสธการบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
วัสดุและวิธีการศึกษา:การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในผู้ป่วยที่ได้รับคำปรึกษาเรื่องการบำบัดทดแทนไตทุกราย ณ ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลทุ่งสง ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียน ในช่วง 1 ปี ระหว่าง 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564
ผลการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างจำนวน 428 ราย พบว่า6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส อัตราการกรองของเสียของไตระดับความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง อำเภอที่อยู่ และสิทธิการรักษา
สรุป: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายส่วนใหญ่ปฏิเสธการบำบัดทดแทนไต อาจมาจากหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจดังกล่าว หรือแม้แต่ข้อจำกัดบางประการการดูแลแบบประคับประคองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดหรือมีข้อห้ามสำหรับการฟอกไต
References
คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาการฟอกเลือดและการกรองพลาสมา สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต พ.ศ.2561. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ; 2561.
ดวงกมล อมรลักษณ์ปรีชา. การเปรียบเทียบต้นทุนทางตรงและทางอ้อมระหว่างการรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย: การประเมินทางคณิตศาสตร์ประกันภัย. สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์; 2561.
สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ, บรรณาธิการ. ตำราโรคไตเรื้อรัง. 2 พิมพ์ครั้งที่. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่นจำกัด; 2562.
ธิดารัตน์ อภิญญา, บรรณาธิการ. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข: สำนักงานกิจการการโรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมป์; 2559.
กมลรัตน์ บัญญัตินพรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560;32(1):2–9.
กุมาลีพร ตรีสอน. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561;15(1):13–20.
เกรียงไกร เฮงรัศมี, กนกพร แจ่มสมบูรณ์. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกลามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต (Concepts of quality of life). วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 2559;49(2):171–84.
งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลทุ่งสง. รายงานสถิติประจำปี พ.ศ.2561. นครศรีธรรมราช:โรงพยาบาลทุ่งสง; 2561.
งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลทุ่งสง. รายงานสถิติประจำปี พ.ศ.2562. นครศรีธรรมราช: โรงพยาบาลทุ่งสง; 2562.
งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลทุ่งสง. รายงานสถิติประจำปี พ.ศ.2563. นครศรีธรรมราช: โรงพยาบาลทุ่งสง; 2563.
งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลทุ่งสง. รายงานสถิติประจำปี พ.ศ.2564. นครศรีธรรมราช: โรงพยาบาลทุ่งสง; 2564.
สุปราณี สูงแข็ง, สมพร แวงแก้ว. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ในจังหวัดอุดรธานี. สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560;24(2):1–9.
อำนวยพร แดงสีบัว, อัจฉราวรรณ โตภาคงาม, สัจจะ ตติยานุพันธ์วงศ์, จุฬาภรณ์ ลิ้มวัฒนานาน . การติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เลือกรับการรักษาแบบไม่ฟอกไต. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2558; 9(2): 181-92.
อภิรดี อภิวัฒน์นากร, ชิดชนก เรือนก้อย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิเสธการฟอกไตในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี อุตรดิตถ์. 2561;10(2):29–43.
พัชรี สังข์สี, ยุพิน ถนัดวณิชย์, วัลภา คุณทรงเกียรติ, สายฝน ม่วงคุ้ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563;28(3):52–65.
จักรพงษ์ เฮงตระกูลเวนิช, กนกวรรณ พรมชาติ, สุชัญญา พรหมนิ่ม, นภาพร บุญยืน, จิดาพร อินทพงษ์, ภัทราภรณ์ มีศิริ. การศึกษาแบบย้อนหลังเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายระหว่างผู้ป่วยที่ตัดสินใจปฏิเสธกับผู้ป่วยที่ยอมรับการรักษาด้วยวิธีการล้างไต. วารสารกรมการแพทย์. 2563;4(4):111–21.
Janet L. Davis, Sara N. Davison. Hard choices, better outcomes: a review of shared decision-making and patient decision aids around dialysis initiation and conservative kidney management. Current Opinion in Nephrology and Hypertension.2017;26(3):205–13.
Jeanette Finderup, Jens Dam Jensen, Kirsten Lomborg. Shared decision-making in dialysis choice has potential to improve self-management in people with kidney disease: A qualitative follow-up study. Journalof Advanced Nursing.2021;77(4):1878–87.
ปิยรัตน์ ไชยศิวามงคล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจปฏิเสธฟอกไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. 2564;6(2):1–12.
Fahad Saeed, Muhammad Sardar, Khalid Rasheed, Raza Naseer, Ronald M. Epstein, Sara N. Davison, et al.Dialysis Decision Making and Preferences for End-of-Life Care: Perspectives of Pakistani Patients Receiving Maintenance Dialysis. Journal ofPain and Symptom Management. 2020;60(2):336–345.
Finderup J, Kirsten Lomborg, Jens Dam Jensen, Dawn Stacey. Choice of dialysis modality: patients’ experiences and quality of decision after shared decision-making. BMC Nephrology.2020;21(1):330.
ปาณิสรา สนั่นเอื้อ, สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์. ความต้องการในการดูแลแบบประคับประคองของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายตามมุมมองของพยาบาล.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 23. 25 มีนาคม 2565; มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2565
Chin C. Ch’ng, Loke M. Ong, Kelvin K. M. Beh, Wan S. Md Yusuf, Thian F. Chew, Ming L.Lee, et al.Survival advantage of initiating dialysis in elderly and non-elderly incident end-stage kidney disease patients. Nephrology.2020;25(8):644–51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น