ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ ที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อาภานี ช่วยขำ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
  • กลีบแก้ว จันทร์หงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้, ความสามารถในการดูแลตนเอง, การสนับสนุนทางสังคม, การรับรู้ภาวะสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทยความสามารถในการดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

วัสดุและวิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดจากการสุ่ม จำนวน 140 คน ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการดูแลตนเองเท่ากับ .87, .76 และ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย: 1. ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68 2. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพ การได้รับความรู้ที่เพียงพอ และที่พักอาศัย สามารถอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการดูแลตนเองได้ร้อยละ 28.6 โดยดังนี้

         Zความสามารถในการดูแลตนเอง = 0.343 Z1การรับรู้ภาวะสุขภาพ - 0.287 X2ความรู้เพียงพอ– .251X3ที่พักอาศัยไม่ป็นของตนเอง

References

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. มะเร็งลำไส้ใหญ่คร่าชีวิตคนไทยพุ่ง 3 พันคนต่อปี. [Internet]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 26 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จากhttps://www.prachachat.net/ spinoff/health/news-218088

สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ. แนวโน้มคนไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ 2.4 เท่า. [Internet]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ7 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th /Content/ 53098-Thaihealth.

หอผู้ป่วยเคมีบำบัด แผนกอายุรกรรม. ทะเบียนผู้ป่วยมะเร็ง พ.ศ. 2561-2563. โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. 2563.

Orem DE. Nursing Concepts of Practice. 6thed. St.Louis: Mosby;2001.

กชชุกร หว่างนุ่ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับ ยาเคมีบำบัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

Prescott PA. Multiple Regression Analysis with Sample: Caution and Suggestion. Nursing Research. 369March/April); 1978.

อังกฤษ มีจักร. มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์. นิรัตน์ อิมามี. และ อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา. วารสารสุขศึกษา. 2554;34(118): 37-54.

วณิตา กองแกว. ลักษณะชีวสังคมที่มีผลตอการรับรูภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผูสูงอายุ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกลา กรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธปริญญามหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2549.

ดวงพร รัตนอมรชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพและการรับรู้การควบคุมกับวิถีชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดอ่างทอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2535.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01