ความเฉื่อยทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลนครนายก

ผู้แต่ง

  • หฤทัย คุโณทัย กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครนายก

คำสำคัญ:

ความเฉื่อยทางคลินิก, โรคเบาหวานชนิดที่2

บทคัดย่อ

บทนำ: ความเฉื่อยทางคลินิกเป็นปัญหาหลักในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะอาจทำให้เกิดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเร็วขึ้น

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดความเฉื่อยทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาด้วยยาเบาหวานชนิดรับประทาน2)เพื่อศึกษาระยะเวลาการเกิดความเฉื่อยทางคลินิก รวมถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความเฉื่อยทางคลินิกและ3)เพื่อศึกษาระยะเวลาการได้รับการรักษาเพิ่มหลังจากเกิดความเฉื่อยทางคลินิกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับการรักษาเพิ่ม

วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ retrospective cohort study ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยรหัส ICD10 XXX และเริ่มเข้ารับการรักษาระหว่างวันที่1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลข้อมูลยาชนิดของยาที่ได้รับ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร และติดตามการรักษาจนถึง 2564เปรียบเทียบกับแนวทางเวชปฏิบัติโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560

ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยเบาหวานจำนวน4302 คน เกิดความเฉื่อยทางคลินิกครั้งแรกร้อยละ 13.88 ระยะเวลาการเกิดความเฉื่อยพบที่เดือนแรกหลังวินิจฉัยมากที่สุด ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดความเฉื่อย คือ อายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี มีโอกาสเกิดความเฉื่อยได้มากกว่าอายุที่น้อยกว่า 1 ปี HRadj = 4.30 (95% CI 3.21-5.76,P<0.01) โดยผู้ป่วยที่มีโรคร่วมคือความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูงมีโอกาสเกิดเฉื่อยทางคลินิกน้อยกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอย่างเดียว HRadj = 0.49 (95% CI 0.37-0.65 , P<0.01), HRadj = 0.50 (95% CI 0.38-0.66 , P<0.01) และผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับยาเพิ่มหลังเกิดความเฉื่อยเพียง 1 เดือนผู้ป่วยที่อายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปีมีโอกาสได้รับการรักษามากกว่าอายุที่น้อยกว่า 1 ปีHRadj = 1.32(95% CI 1.15-1.52,P<0.01)

สรุป: ภาวะความเฉื่อยทางคลินิกยังเป็นปัญหาที่สำคัญของการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยอายุที่เพิ่มขึ้นมีโอกาสเกิดความเฉื่อยทางคลินิกมาก และมีโอกาสได้รับยาเพิ่มขึ้นเร็วกว่าผู้ป่วยอายุน้อย

References

International Diabetes Federation. IDF DIABETES ATLAS nineth ed.[internet].2019 [cite July 27,2021] Available from:https://www.idf.org/e-library/epidemiology-research/ diabetes- atlas. html.2019

World Health Organization. About diabetes. [internet].2014 [cite July 27 ,2021] Available from:https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes 23/08/2565

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์ NCDS เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562 [online]2563[เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565]. Available from:https:// ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.หนังสือสถิติสาธารณสุข 2562 [online] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2565]. Available from:http://www.pcko.moph.go.th /Health-Statistics/statistic2562.pdf.

O’Connor PJ, Sperl-Hille JM, Johnson PE, Rush, George WA, G.Biltz.Clinical inertia and outpatient medical error.JOURNAL OF MEDICAL LICENSURE AND DISCIPLINE.2008;94:19-29.

Khunti K, Wolden ML, Thorsted BL, Davies MJ. Clinical Inertia in People With Type 2 Diabetes :a retrospective cohort study of more than 80,000 people. Diabetes Care.2013 ;36(11): 3411-7.

ลิขิต ผลดี.ความเฉื่อยทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ].อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี;2561.

Osataphan S, Chalermchai T, Ngaosuwan K. Clinical inertia causing new or progression of diabetic retinopathy in type 2 diabetes: a retrospective cohort study. J Diabetes.2017; 9(3): 267-74.

Kaewbut P, Kosachunhanun N, Phrommintikul A, Chinwong D, Hall J, Chinwong S. An observational study of clinical inertia among patients with type 2 diabetes mellitus in a tertiary care hospital. Archives of Medical Science.2020. doi:10.5114/aoms.2020.98196.

Health Data Center .ข้อมูลตอบสนองservice plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [online]2020[เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565]. Available from:https://nyk.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report. php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย,สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย,กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี:บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

McEwen LN,BillkD,JohnsonSL,HalterJB,KarterAJ,MAngioneCM,et al .Predictors and Impact of Intensification of Antihyperglycemic Therapy in Type 2 Diabetes:Diabetes Care 2009;32(6):971–6.

Kartoun U, IqlayK ,Shanklar R, Beam A, RadicanL,et al. Factors associated with clinical inertia in type 2 diabetes mellitus patients treated with metformin monotherapy.CurrentMedicalRearch and Opinion 2019;35(12):2063-70.

Yu S, Schwab P,Bian B, Radican L, TunceliK.Use of Add-on Treatment to Metformin Monotherapy for Patients with Type 2 Diabetes and Suboptimal Glycemic Control: A U.S. Database Study.Jmanag Care Spec Pharm 2016.22:272-80.

Wan K, Moy F, Yousoft K, Mustapha F, Ali Z,HairiN.Clinical inertia in type 2 diabetes management in a middle-income country: A retrospective cohort study.[online] 2020[Cited 2022 Juny12]; 10. Available from:https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33035261/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01