การศึกษาเชิงสังเกตย้อนหลังของการระงับปวดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยการฉีด มอร์ฟีนขนาดต่ำเข้าช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับการฉีดยาชาตรงเส้นประสาทส่วนปลายเทียบกับ การฉีดมอร์ฟีนขนาดปกติเข้าช่องน้ำไขสันหลัง : กรณีศึกษาโรงพยาบาลพัทลุง

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ โรจนรัตน์ หน่วยวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง
  • อนุกูล เกียรติขวัญบุตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การระงับปวดหลังการผ่าตัด

บทคัดย่อ

บทนำ: อาการปวดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นกลุ่มอาการปวดระดับปานกลาง–รุนแรง หากระงับอาการปวดหลังการผ่าตัดได้ดี จะทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวเร็วและสามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาเทคนิคและวิธีระงับปวดหลังการผ่าตัด2 วิธีที่นิยมใช้มากสุดในโรงพยาบาลพัทลุงคือ การฉีดมอร์ฟีนขนาดต่ำ (0.1 มิลลิกรัม) เข้าช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับการฉีดยาชาตรงเส้นประสาทส่วนปลายและการฉีดมอร์ฟีนขนาดปกติ (0.2 มิลลิกรัม) เข้าช่องน้ำไขสันหลัง

วัตถุประสงค์: เพื่อต้องการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการระงับปวดแต่ละวิธีหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลพัทลุง

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังของผู้ป่วย 100 รายที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมภายใต้การระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง โรงพยาบาลพัทลุง ตั้งแต่วันที่ 1มิถุนายน พ.ศ. 2564 – 31พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ผลการระงับปวดประเมินจากระยะเวลาที่ได้รับยามอร์ฟีน ครั้งแรกคะแนนความปวดขณะพักและเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัดและปริมาณยามอร์ฟีนสะสมใน 48 ชั่วโมง

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 79 รายที่ตรงกับเกณฑ์การคัดเลือก กลุ่มวิธีที่ 1 ระงับปวดด้วยการฉีดมอร์ฟีนขนาดต่ำ (0.1มิลลิกรัม) เข้าช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับการฉีดยาชาตรงเส้นประสาทส่วนปลาย41รายและกลุ่มวิธีที่ 2 ระงับปวดด้วยการฉีดมอร์ฟีนขนาดปกติ (0.2 มิลลิกรัม)เข้าช่องน้ำไขสันหลัง 38 ราย จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าระยะเวลาที่ผู้ป่วยกลุ่มวิธีที่ 1 ได้รับยามอร์ฟีนครั้งแรกแตกต่างจากกลุ่มวิธีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับคะแนนความปวดขณะพักและขณะเคลื่อนไหวของผู้ป่วยกลุ่มวิธีที่ 1 น้อยกว่ากลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและปริมาณยามอร์ฟีนสะสมใน 48 ชั่วโมง ไม่พบว่ามีความแตกต่างกัน

สรุป: การฉีดมอร์ฟีนขนาดต่ำ เข้าช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับการฉีดยาชาตรงเส้นประสาทส่วนปลาย สามารถระงับอาการปวดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ดีกว่าการฉีดมอร์ฟีนขนาดปกติ เข้าช่องน้ำไขสันหลัง

References

Wylde V, Rooker J, Haliday L, Blom A. Acute postoperative pain at rest after hip and knee arthroplasty: severity, sensory qualities and impact on sleep. Orthop Traumatol Surg Res 2011; 97: 139-44.

Charous MT, Madison SJ, Suresh PT. Continuous femoral nerve blocks: varying local anesthetic delivery method (bolus versus basal) to minimize quadriceps motor block while maintaining sensory block. Anesthesiology 2011; 115(4): 774-81.

Jaeger P, Nielsen AJ, Henningsen MH, Jilsted KL, Mathiesen o , Dahl JB. Adductor canal block versus femoral nerve block and quadriceps strength: a randomized, double blind, placebo-controlled, crossover study in healthy volunteers. Anesthesiology 2013; 118: 409-15.

Jaeger P, Zaric D, Fomsgaard JS, Hilsted KL, Bjerregaard J, Gym J,et al. Adductor canal block versus femoral nerve block for analgesia after total knee arthroplasty: a randomized, double-blind study. Reg Anesth Pain Med 2013; 38: 526-32.

Danninger T, Opperer M, Memtsoudis SG. Perioperative pain control after total knee arthroplasty: An evidence base review of the role of peripheral nerve blocks. World J Orthop 2014;5(3):225-32.

Koh IJ, Choi YJ, Kim MS, Koh HJ, Kang MS, In Y. Femoral Nerve Block versus Adductor Canal Block for Analgesia after Total Knee Arthroplasty. Knee SurgRelat Res 2017;29(2):87-95

Macfarlane AJR, Prasad GA, Chan VWS, Brull R. Does regional anesthesia improve outcome after total knee arthroplasty? Clin Orthop Relat Res 2009; 467: 2379-402.

Sinatra RS, Torres J BA. Pain management after major orthopaedic surgery: Current strategies and new concepts. J Am Acad Orthop Surg 2002; 10: 117-29.

Kuptniratsaikul V, Tosayanonda O, Nilganuwong S, Thamalikitkul V. The epidemiology of osteoarthritis of the knee in elderly patients living an urban area of Bangkok. J Med Assoc Thai 2002;85(2):154-61.

Thay YJ, Goh QY, Han RN, Sultana R, Sng BL.Pruritus and postoperative nausea and vomiting after intrathecal morphine in spinal anaesthesia for caesarean section: Prospective cohort study. Proceedings of Singapore Healthcare 2018;27(4):251-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01