ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็กพัฒนาการล่าช้ารอบด้าน(GDD) หลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ภูษณิศา ลดาวรรษ์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

เด็กพัฒนาการล่าช้ารอบด้าน, การกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่ระยะแรก, เวลาหน้าจอ

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะพัฒนาการล่าช้ารอบด้าน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เด็กกลุ่มนี้มักมีปัญหาในการใช้ชีวิตในสังคม การปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบทั้งตัวเด็ก ครอบครัว รวมถึงประเทศชาติ การรักษาโดยการฝึกกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่ระยะแรก รวมถึงการทราบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาจะทำให้ผลการรักษาดีขึ้น สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็กพัฒนาการล่าช้ารอบด้าน ที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีพัฒนาการล่าช้ารอบด้าน ที่มารับการรักษาที่คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 จำนวน 77 คน

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 41 คน อายุเฉลี่ย 21เดือน เป็นเพศชายร้อยละ 58 ร้อยละ 40 เป็นเด็กเกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดร้อยละ 51 มีโรคประจำตัวร้อยละ 48 ใช้เวลาหน้าจอโดยการดูโทรทัศน์ ร้อยละ60 และดูโทรศัพท์ร้อยละ 44 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็กพัฒนาการล่าช้ารอบด้าน ที่ทำให้ผลการรักษาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คืออายุครรภ์เมื่อแรกเกิด  (P=0.014)  ระดับการศึกษาของมารดา (p=0.033) และจำนวนครั้งของการฝึก (p=0.031)

สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็กพัฒนาการล่าช้ารอบด้าน คือ อายุครรภ์ครบกำหนด 37 สัปดาห์ขึ้นไป ระดับการศึกษาของมารดา และจำนวนครั้งของการฝึก

References

วลัยรัตน์ ศรีอรุณ, จิราภรณ์ ตันติวงศ์, ชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ, บุญเลิศ เลิศเมธากุล, พนิดา ไพศาลยกิจ, วรวรรณ พลิคามินและคณะ.สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข.2564.

ธันยพร เมฆรุ่งจรัส, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู. ปัจจัยที่กระทบต่อพัฒนาการเด็ก. ใน: สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, จริยา จุฑาภิสิทธิ์, พัฏ โรจน์มหามงคล, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2561 หน้า43-53.

Kozuki N, Lee A C, Silveira M F, Sania A, Vogel J P, Adair L, et al. The association of parity and maternal age with small for gestational-age, preterm and neonatal and infant mortality: a meta-analysis. BMC Public Health2013, 13 (Suppl3):S2.

Loehlin JC. Group difference in intelligence. In : Sterng RJ. Ed. Hand book of intelligence. Cambridge : Cambridge University Press; 2000. p.176-93.

Singh G C, Nair M, Grubesic R B, Connell F A. Factors associated with underweight and stunting among children in Rural Terai of eastern Nepal. Asia Pac J Public Health 2009;21(2):144-52.

ศิริกุล อิศรานุรักษ์, สุธรรม นันทมงคลชัย, ดวงพร แก้วศิริ. รายงานการวิจัยโครงการการพัฒนาระดับสติปัญญาเด็กวัยต่างๆของประเทศระยะที่1: การวิเคราะห์สถานการณ์. คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.2544.

Sirikul Isaranurug, Sutham Nanthamongkolchai, Duangporn Kaewsiri. Factors Influencing development of children aged one to under six years old. J Med Assoc Thai 2005;88(1):86-90.

นิตยา คชภักดี. พัฒนาการเด็ก. ใน: ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ชาคริยา ธีรเนตร, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2554.หน้า 1-25.

นิตยา คชภักดี และ อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. คู่มือการฝึกอบรมการทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย DENVER ll (ฉบับภาษาไทย). นครปฐม: โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล. 2546.

Liu X, Wang X M, Ge J, Dong X Q. Effects of the portage early education program on Chinese children with global developmental delay. Medicine2018:97:41.

Thomaidis L, Zantopoulos GZ, Foizas S, Mantagou L, Bakoula C, Konstantopoulos A. Predictors of severity and outcome of a global developmental delay without definitive etiologic yield: a prospective observational study. BMC Pediatric2014;14:40.

Babik I, Cunha A B, Lobo M A. Model for using developmental science to create effective early intervention programs and technologies to improve children’s developmental outcomes.Advance in Child development and behavior 2022: 62;231-68.

ถาวร พุ่มเอี่ยม, วีรวรรณ บุญวงศ์, สุวณีย์ จอกทอง.ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 11.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11.2562.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร, ชัยชนะ บุญสุวรรณ, นฤมล ธนเจริญวัชร.รายงานการศึกษา “พัฒนาการเด็กปฐมวัย ปี พ.ศ. 2557”. นนทบุรี:สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย(เอกสารอัดสำเนา).2558.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.2561;5(2):161-71.

Demirci A and Kartal M.The prevalence of developmental delay among children age 3-60 months in Izmir, Turkey. Child care, health and development2016;42:213-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01