อุบัติการณ์การพบเนื้อร้ายในผู้ป่วยกระเพาะอาหารทะลุ และบทบาทการส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ณัฐถา แข็งแรง กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การเจาะแผลในกระเพาะอาหาร, มะเร็งกระเพาะอาหาร, การตรวจชิ้นเนื้อในกระเพาะอาหาร

บทคัดย่อ

บทนำ : กระเพาะอาหารทะลุเป็นภาวะที่พบและได้รับการรักษาด้วยวิธีศัลยกรรมแบบฉุกเฉินบ่อยที่สุดในประเทศไทยภาวะดังกล่าวอาจมีสาเหตุมาจากเนื้อร้ายซึ่งไม่สามารถวินิจฉัยแยกโรคขั้นต้นออกจากแผลกระเพาะอาหารทะลุทั่วไปก่อนการรักษาทางศัลยกรรม ปัจจุบันมีรายงานแนวทางการรักษาต่าง ๆโดยแนะนำให้ส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา (Histopathology) ร่วมด้วยทุกรายหลังการรักษาทางศัลยกรรม แต่การศึกษาในประเทศไทยพบอัตราการเกิดเนื้อร้ายร่วมกับภาวะกระเพาะอาหารทะลุค่อนข้างต่ำ คือร้อยละ 2-3 เปรียบเทียบกับในต่างประเทศเป็น ร้อยละ 5-16 โดยผู้ป่วยไทยมักมีอายุน้อยและพบเกี่ยวข้องกับการซื้อยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAID) มารับประทานด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์ : เพื่อหาอุบัติการณ์ของเนื้อร้ายที่พบร่วมกับภาวะกระเพาะอาหารทะลุและลักษณะทางคลินิกของแผลที่นำไปสู่การวินิจฉัยเบื้องต้นของเนื้อร้ายและการพิจารณาส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังของผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นและหลังการรักษาทางศัลยกรรมเป็นภาวะกระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยทุกรายมีผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาข้อมูลต่าง ๆได้จากการทบทวนบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในบันทึกการผ่าตัดและรายงานผลทางพยาธิวิทยา

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยจำนวน 210 ราย ที่ตรงกับเกณฑ์การคัดเลือก ชาย 125 คน หญิง 85 คน ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 57 ปี มีผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาเป็นเนื้อร้ายชนิด adenocarcinoma จำนวน 4 ราย (ร้อยละ1.9) ลักษณะทางคลินิกของแผลกระเพาะอาหารทะลุเป็นแบบต่าง ๆ คือแผลขอบเรียบที่เพิ่งเกิดใหม่ (acute ulcer) ในผู้ป่วย 203 ราย(ร้อยละ 96.6) ทุกรายมีผลการตรวจทางพยาธิวิทยาที่ไม่เป็นเนื้อร้ายและแผลขอบหนาเรื้อรัง (chronic ulcer) ในผู้ป่วย 4 ราย (ร้อยละ 1.94) มีผลการตรวจทางพยาธิวิทยาเป็นเนื้อร้าย 1 ราย (ร้อยละ 25) นอกจากนี้ยังพบลักษณะเป็นก้อน (tumor) 3 ราย (ร้อยละ 100) โดยทุกรายมีผลการตรวจทางพยาธิวิทยาเป็นเนื้อร้าย จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบลักษณะทางคลินิกของแผลกระเพาะอาหารทะลุเกี่ยวข้องกับการเป็นเนื้อร้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และตำแหน่งของแผลทะลุที่ไม่ได้อยู่บริเวณ pre-pyloric มีโอกาสเป็นเนื้อร้ายสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 68.3, p<0.01)

สรุป: ผู้ป่วยกระเพาะอาหารทะลุในประเทศไทยมีโอกาสน้อยมากที่เกิดร่วมกับภาวะเนื้อร้ายโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาของต่างประเทศ ลักษณะและตำแหน่งของแผลเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้รักษาควรให้ความสนใจและนำมาประกอบการตัดสินใจส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

คำสำคัญ : การเจาะแผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจชิ้นเนื้อในกระเพาะอาหาร

References

Sung JJ, Kuipers EJ, El-Serag HB. Systematic review: the global incidence and prevalence of peptic ulcer disease. Aliment Pharmacol Ther; 29(9): 938-46.

C.suriya,diagnosis indicators for peptic ulcer perforation at a tertiary care hospital in Thailand.

Ergul E, Gozetlik EO. Emergency spontaneous gastric perforations: ulcus versus cancer. Langenbecks Arch Surg 2009; 394(4): 643e6.

Wysocki A, Budzynski P, Kulawik J, Drozdz W. Changes in the localization of perforated peptic ulcer and its relation to gender and age of the patients throughout the last 45 years. World J Surg 2011; 35(4): 811e6.

Lehnert T, Buhl K, Dueck M, Hinz U, Herfarth C. Two-stage radical gastrectomy for perforated gas-tric cancer. Eur J Surg Oncol 2000; 26(8): 780e4.

Adachi Y, Aramaki M, Shiraishi N, Shimoda K, Yasuda K, Kitano S. Long-term survival after perfora-tion of advanced gastric cancer: Case report and review of the literature. Gastric Cancer 1998; 1(1): 80-3.

McGee GS, Sawyers JL. Perforated gastric ulcers. A plea for management by primary gastric resection. Arch Surg 1987; 122(5): 555e61.

Courtney M, Townsend R, Daniel B, Mark E, Kenneth L. Sabiston textbook of surgery 20th edition. Philadelphia: Elsevier; 2017.

Charles B, Dana K, Timothy R, David L, John G, Jeffrey B, Raphael E. Schwartz textbook of surgery 10th edition. Los Angelis: McGraw-Hill Education / Medical; 2014.

Wilairatana S1, Kladchareon N, Israsena S, Wilairatana P. Epidemiology of peptic ulcer disease in Thailand. Gastroenterol Jpn 1991 ;26 Suppl 3: 265-6.

Tantrachoti P, Werawatganon D, Soontornmanokul T, Rerknimitr R, Gonlachanvit S. Epidemio-logical Study of Helicobacter pylori Infection and Endoscopic Findings in Thailand Epidemiological Study of Helicobacter pylori Infection and Endoscopic Findings in Thailand. Thai J Gastroenterol 2013; 110.

Emre Ergul, Erdal G. Emergency spontaneousEmergency spontaneous gastric perforation: ulcer versus cancer. Langenbecks Arch Surg 2009; 394: 643-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01