ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจเด็กโรงพยาบาลรามาธิบดี
คำสำคัญ:
ระยะเวลาตรวจ, เด็ก, ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจบทคัดย่อ
บทนำ : ระยะเวลาในการตรวจสะท้อนความสามารถในการรองรับปริมาณการตรวจในแต่ละวันซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญแต่ยังไม่มีการศึกษาแพร่หลาย
วัตถุประสงค์ : ศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาในการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจเด็ก
วัสดุและวิธีการศึกษา : ศึกษาวิจัยแบบย้อนหลัง จากข้อมูลเวลาที่ปรากฏในภาพการตรวจ โดยนำเสนอระยะเวลาในการตรวจด้วยสถิติเชิงพรรณนา Mean + SD และเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจในผู้ป่วยแต่ละประเภท ทั้งผู้ป่วยเก่าและใหม่แยกชนิดความซับซ้อนของโรคหัวใจด้วยสถิติ Mann-Whitney test
ผลการศึกษา : พบว่าการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจเด็ก 200 ราย อายุ 1 วัน – 14 ปี ของโรงพยาบาลรามาธิบดีส่วนใหญ่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที (77%) โดยผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดไม่ซับซ้อนใช้เวลาน้อยกว่าโรคหัวใจชนิดซับซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (17.8 +0.05 vs 27.4 +1.8 minutes, P-value < 0.05) ทั้งนี้พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดซับซ้อนที่เป็นผู้ป่วยใหม่ไม่เคยได้รับการตรวจมาก่อนใช้เวลานานกว่ากลุ่มที่เคยได้รับการตรวจแล้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (33.7 +2.84 vs 21.1 +1.84 minutes, P-value < 0.05) ในจำนวนนี้มีเพียง 6% ที่ใช้เวลาตรวจเกินหนึ่งชั่วโมง
สรุป : การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ส่วนใหญ่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที โดยผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดไม่ซับซ้อนใช้เวลาน้อยกว่าโรคหัวใจชนิดซับซ้อน และในกลุ่มนี้พบว่าผู้ป่วยใหม่ไม่เคยได้รับการตรวจมาก่อนใช้เวลานานกว่ากลุ่มที่เคยรับการตรวจแล้ว
คำสำคัญ : ระยะเวลาตรวจ เด็ก ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
References
Intersocietal accreditation commission Echocardiography. IAC Standards and Guidelines for Adult Echocardiography Accreditation. 2014
Lai W. Task Force of the Pediatric Council of the American Society of Echocardiography; Paediatric Council of the American Society of Echocardiography. Guidelines and standards for performance of a pediatric echocardiogram: A report from the Task Force of the Paediatric Council of the American Society of Echocardiography. J Am Soc Echocardiography 2006; 19: 1413-30.
Badano LP, Nucifora G, Stacul S, Gianfagna P, Pericoli M, Del Mestre L, et al. Improved workflow, sonographer productivity, and cost-effectiveness of echocardiographic service for inpatients by using miniaturized systems. European Journal of Echocardiography 2009; 10(4): 537-42.
Kimura BJ, DeMaria AN. Time requirements of the standard echocardiogram: implications regarding limited studies. Journal of the American Society of Echocardiography 2003; 16(10): 1015-8.
Picard MH, Adams D, Bierig SM, Dent JM, Douglas PS, Gillam LD, et al. American Society of Echocardiography recommendations for quality echocardiography laboratory operations. Journal of the American Society of Echocardiography 2011; 24(1): 1-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น