ปัจจัยทำนายทางคลินิกต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนายทางคลินิก, ไส้ติ่งแตก, ไส้ติ่งอักเสบบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ : ไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคทางศัลยกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดท้องที่พบได้บ่อย และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดช่องท้องฉุกเฉิน การวินิจฉัยต้องใช้อาการทางคลินิกเป็นหลัก พบว่าวินิจฉัยได้ยาก มีโอกาสวินิจฉัยผิดพลาด และมีความเสี่ยงต่อการเกิดไส้ติ่งแตกสูง นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอาการทางคลินิกของผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ที่เป็นปัจจัยพยากรณ์โอกาสของการเกิดภาวะไส้ติ่งแตก
วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพยากรณ์การวินิจฉัยแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันและเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลท่าศาลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2564 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน รวบรวมปัจจัยทางคลินิกที่สำคัญและปัจจัยเสี่ยง แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยทำนายที่มีผลต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตก
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ได้รับการผ่าตัดและมีผลตรวจทางพยาธิวิทยายืนยันทั้งหมด 659 คน พบภาวะไส้ติ่งแตกจำนวน 83 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.6 จากการศึกษาพบว่าปัจจัยเกี่ยวกับ ระยะเวลาตั้งแต่ปวดท้องจนถึงโรงพยาบาลมากกว่า 48 ชั่วโมง (adjusted OR=36.31, p<0.001) อาการเบื่ออาหาร (adjusted OR=3.48, p=0.002) อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38องศาเซลเซียล (adjusted OR=2.79, p=0.005) ตรวจท้องพบ localized guarding (adjusted OR=2.28, p=0.019) ผลเลือดมีปริมาณเม็ดเลือดขาวมากกว่า 14,000 (adjusted OR=2.81, p=0.008) และพบเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลมากกว่า 80% (adjusted OR=2.39, p=0.02)มีผลต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตก โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p<0.05)
สรุป: ปัจจัยทางคลินิกจากการศึกษานี้ อาจนำมาใช้พยากรณ์โอกาสเกิดไส้ติ่งแตกได้ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งโรงพยาบาลระดับชุมชนและระดับจังหวัด เพื่อเป็นแนวทางตัดสินใจในการส่งตัวผู้ป่วยมารักษาต่อ หรือสร้างความตระหนักสำหรับแพทย์ จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของการรักษา รวมถึงการให้ข้อมูลคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติได้
คำสำคัญ: ปัจจัยทำนายทางคลินิก ไส้ติ่งแตก ไส้ติ่งอักเสบ
References
Ferris M, Quan S, Kaplan BS, Molodecky N, Ball CG, Chernoff GW, et al. The Global incidence of Appendicitis: A Systematic Review of Population-based Studies. Ann Surg 2017; 266(2): 237-41.
Mike KL, Roland EA, Bernard MJ, David HB. The appendix. In:Brunicardi FC, Andersen DK, Billar TR, Dunn LD, Hunter GJ, Matthew BF, editors. Schwartz’s principles of surgery. 10th ed. Ohio: McGraw-Hill Education 2015: 1241-59.
Bickell NA, Aufses AH, Jr., Rojas M, Bodian C. How Time Affects the Risk of Rupture in Appendicitis. J Am Coll Surg 2006; 202(3): 401-6.
Humes DJ, Simpson J. Acute appendicitis. BMJ 2006; 333(7567): 530-4.
Ahmed T, Ali Z, Ali A, Anjum S. Perforated appendix: Contributing factors. JUMDC 2010; 1(2): 11-6.
Al-Ajerami Y. Sensitivity and specificity of ultrasound in the diagnosis of acute appendicitis. Eastern Mediterranean Health Journal 2012; 18(1): 66-9.
Hernanz-Schulman M. CT and US in the diagnosis of appendicitis: an argument for CT. Radiology 2010; 22(1): 3-7.
Di Saverio S, Podda M, De Simone B, Ceresoli M, Augustin G, Gori A, et al. Diagnosis and treatment of acute appendicitis: 2020 update of the WSES Jerusalem guidelines. World Journal of Emergency Surgery 2020; 15(27).
Sirikurnpiboon S, Amornpornchareon S. Factors Associated with Perforated Appendicitis in Elderly Patients in a Tertiary Care Hospital. Surg Res Pract 2015; 2015: 681-847.
Ohle R, O’Reilly F, O’Brien KK, Fahey T, Dimitrov BD. The Alvarado score for predicting acute appendicitis: a systematic review. BMC Medicine 2011; 9(1): 139.
Kalan M, Talbot D, Cunliffe WJ, Rich AJ. Evaluation of the modified Alvarado score in the diagnosis of acute appendicitis: a prospective study. Ann R Coll Surg Engl 1994; 76(6): 418-9.
Shuaib A, Shuaib A, Fakhra Z, Marafi B, Alsharaf K, Behbehani A. Evaluation of modifed Alvarado scoring system and RIPASA scoring system as diagnostic tools of acute appendicitis. World J Emerg Med 2017; 8(4): 276-80.
Brender SG, Marcuse EK, Koepsell TD, Hatch EI. Childhood appendicitis: factors associated with perforation. Pediatrics 1985; 76(2): 301-6.
Bonado W, Peloquin P, Brazg J, Scheinbach I, Saunders J, Okpalaji C, et al. Appendicitis in preschool aged children: Regression analysis of factors associated with perforation outcome. J Pediatric Surgery 2015; 50(9): 1569-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น