ผลของโปรแกรมการดูแลและวางแผนจำหน่ายโดยใช้ IDEAL Model ต่อความรู้ ระดับน้ำตาลสะสม ความพร้อมในการจำหน่ายและอัตราการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อน

ผู้แต่ง

  • ศิริมา มณีโรจน์ งานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การวางแผนจำหน่าย, เบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อน โปรแกรม IDEAL

บทคัดย่อ

บทนำ: เบาหวานเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช มีผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น  การดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์รวมทั้งให้ความสำคัญกับการวางแผนจำหน่ายเพื่อการดูแลตนเองต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านและชุมชน

 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลและวางแผนจำหน่ายต่อความรู้ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ความพร้อมในการจำหน่าย และอัตราการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

 

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง รูปแบบของโปรแกรมพัฒนาตามแนวทาง I-D-E-A-L Model กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อน ซึ่งเข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม 2 และอายุรกรรม 3 โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 ถึง ธันวาคม 2564 โดยมีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 38 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน แบบสอบถามความพร้อมในการจำหน่าย และแบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติที (pair t-test)

 

ผลการศึกษา : พบว่าหลังได้รับโปรแกรมการดูแลและวางแผนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-16.77, p=<.001) ระดับน้ำตาลสะสมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=7.51,p=<.001) และหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมในการจำหน่ายอยู่ระดับสูง (M= 66.18, S.D.=6.11) และกลับมารักษาซ้ำภายใน28 วัน จำนวน 1 ราย

 

สรุป : โปรแกรมการดูแลและวางแผนจำหน่าย โดยใช้ IDEAL MODEL ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้  สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมได้ดีขึ้น มีความพร้อมในการจำหน่ายในระดับสูง และลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำ  จึงควรนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ซับซ้อนและผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

References

American Diabetes Association (ADA).Standards of Medical Care in Diabetes-2017. Diabetes Care 2017; 40(1): 11-24.

รายงานสถานการณ์โรคเบาหวาน พ.ศ. 2563.สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. [เข้าถึงเมื่อวันที่12 กันยายน 2564]. แหล่งข้อมูล http://www.dmthai.org; 2564.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช, 2563.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (องค์กรมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทฺ หนังสือดีวัน; 2562.

BlacK,R.L & Duval,C.Diabetes Discharge Planning and Transitions of Care : A Focused Review, Current Diabetes Reviews 2019; 15(2): 111-17.

Shepperd, S., Mc Claran J, Phillips, CO., et al. Discharge planning from hospital to home. Cochrane Database Syst Rev 2010; 20(1): CD000313.

Fitri, E.Y., Andhini, D., Natosba,J. Effect of LIMA Discharge Planning Model on Discharge Readiness Among Patients with Diabetes Mellitus. Advances in Health Sciences Research 2019; 25: 298-301.

National Health and Medical Research Council.(NHMRC). A Guideline to the Development, Implementation and Evaluation of Clinical PracticeGuidelines.2013. Available from http://www.nhmrc.gov.au.

ปราณี เกสรสันติ์, ณาตยา ขนุนทอง, ขนิษฐา พันธุ์สุวรรณ และวราพร พลายชุมพล.การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน โดยใช้ IDEAL Patient Care Model ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35 (2): 111-21.

พรรณดา สุวัน, ลุนนี ราชไชยและณัฐวรรณ ชัยมีเขียว. ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานตามกรอบแนวคิด IDEAL โรงพยาบาลส่องดาว สกลนคร. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”2019: 671-84.

แสงเดือน กันทะขู้ ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล และ ฉัตรกนก ทุมวิภาต.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. J Nurs Sci 2009; 27 (2): 4-93.

พัชรินทร์ เชื่อมทอง นิภา กิมสูงเนิน และรัชนี นามจันทรา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่ออพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่. วารสารพยาบาลและสุขภาพ 2563; 43 (1): 78-86.

ดรุณศรี สิริยศธำรง ชนกพร อุตตะมะ นาฏยา เอื้องไพโรจน์ และ ปริชาติ ขันทรักษ์. ผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายโดยพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารกองการพยาบาล 2559; 43 (1): 96-112.

Oterhals K, Hanestad BR, Eide GE, Hanssen TA. The relationship between in hospital information and patient satisfaction after acute myocardial infarction. Eur J Cardiovasc Nurs 2006; 5: 303-10.

ศิริรัตน์ ปานอุทัย. ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร 2557; 41(4): 150-60.

อ่อนน้อม ธูปะวิโรจน์. ผลการใช้การวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ต่ออัตราการกลับมารับการรักษาซ้ำและความพึงพอใจในการบริการพยาบาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

Shyu. Y. The needs of family caregivers of frail elders during the transition from hospital to home : a Taiwanese sample. Journal of Advanced Nursing 2000; 32: 619-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30