ผลการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดีทัศน์เตรียมความพร้อมผ่าตัดต้อกระจกต่อความรู้ และ ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลทุ่งสง

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ บุญญานุพงศ์ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

สื่อวีดีทัศน์, การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด, ระดับความรู้, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

บทนำ : ต้อกระจกเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะตาบอด การผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียมและไม่มีภาวะแทรกซ้อนช่วยเพิ่มโอกาสการมองเห็น การเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดให้ได้รับข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอแก่ผู้ป่วยในทุกขั้นตอนการรักษาตลอดจนกลับไปดูแลต่อที่บ้านเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลหอผู้ป่วยตา

 

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการได้รับข้อมูลโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ และศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับเตรียมความพร้อมผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลทุ่งสง     

 

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียว เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบวัดความรู้และแบบประเมินความพึงพอใจเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความรู้ก่อนและหลังการชมวีดีทัศน์ ใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และคะแนนความพึงพอใจใช้ค่าเฉลี่ย

 

ผลการศึกษา:ผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดด้วยสื่อวีดีทัศน์มีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการรับชมสูงกว่าก่อนการรับชมสื่อวีดีทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <0.01** ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.74 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

 

สรุป : การให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดีทัศน์เตรียมความพร้อมผ่าตัดทำให้ระดับความรู้เพิ่มสูงขึ้นเกิดความพึงพอใจระดับมากที่สุด ควรนำมาเป็นต้นแบบและพัฒนาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

คำสำคัญ : สื่อวีดีทัศน์  การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด  ระดับความรู้  ความพึงพอใจ

References

Rao GN, Khann R, Payal A. The global burden of cataract. Wolters Kluwer Health. 22(4): 4–9.

คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญ (สาขาจักษุ). บทที่ 1 แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สาขาจักษุ. : แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สาขาจักษุ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2556: 2–3.

ยุวดี ชาติไทย, นภาพร วาณิชย์กุล, สุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์. ผลของการใช้คำแนะนำผ่านสื่อวีดีทัศน์และหุ่นสาธิตต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อกระจก ของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559; 36(2): 159–70.

ละมิตร์ ปึกขาว, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, กาญจนา หัถรังษี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก แบบมีส่วนร่วมอย่างเอื้ออาทร ตามทฤษฎี swanson โรงพยาบาลปทุมธานี. 2563; 29(5): 864–75.

Krathwohl DR. A revision of bloom’ taxonomy. Theory Pract 41(4): 212–8.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองกระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558; 16(1): 8–13.

อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์, วารินทร์ บินโฮเซ็น. ผลการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อความวิตกกังวลในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกแบบไม่ค้างคืน. มหาราชนครศรีธรรมราชสาร 2563; 3(2): 19–29.

เพ็ญศรี จะนู. ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ต่อระดับความรู้และความพึงพอใจในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัด หู คอ จมูก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. TUH J Online 2018; 3(2): 47–65.

ศุภางค์ ดำเกิงธรรม, ยุพาพร หงษ์สามสิบเจ็ด, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระดับความรู้สึกต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก โรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital 2021; 29(1): 50–64.

นงลักษณ์ สุวิสิษฐ์. การพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2011; 17(2): 264–77.

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1998. 579 p.

Donabedian A. An Introduction to Quality Assurance in Health Care. 3rd ed. Vol. 2003. New York: Oxford university press;

นุสรา นามเดช, ดวงดาว อุบลแย้ม, นงคาร รางแดง, พนิดา เหลืองประทีป. การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียร์เพื่อการเรียนรู้ เรื่องการพยาบาลโรควิตกกังวล สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2564; 14(1): 48–62.

ทิพาภัทร เอกวงษา. ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2563; 2(1): 71–9.

กนกพร อริยภูวงศ์, ศุภพร ไพรอุดม, ทานตะวัน สลีวงศ์. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2562; 2(3): 17–30.

Rajput SK, Tiwari T, Chaudhary AK. Effect of preoperative multimedia based video information on perioperative anxiety and hemodynamic stability in patients undergoing surgery under spinal anesthesia. J Fam Med Prim Care 2021; 10(1): 237–42.

ปาลิดา นราวุฒิพร, ศากุล ช่างไม้, สมพันธ์ หิญชีระนันทน์. ผลลัพธ์ของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ล้างไตทางช่องท้อง ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2558; 8(4): 41–60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30