ปัจจัยที่มีผลต่อการกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลทุ่งสง

ผู้แต่ง

  • ทิพรัตน์ อิ้ววังโส กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็ง, ยาเคมีบำบัด, การกำกับดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

บทนำ : การกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัดสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิต ความรู้ ทัศนคติและการได้รับแรงสนับสนุนจากบุคคล สังคม ยิ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนความสามารถในการกำกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง

 

วัตถุประสงค์ : 1) ศึกษาระดับในการกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัด และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ด้านความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตน การมองโลกในแง่ดี แรงสนับสนุนทางสังคม ในการทำนายคุณภาพชีวิต ต่อการกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัด

 

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เก็บแบบสอบถามข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัดระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 - เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 90 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การแจกความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน

 

ผลการศึกษา : ระดับในการกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลทุ่งสง โดยรวมอยู่ในระดับสูงมีค่าคะแนนเฉลี่ย ( =11.86,SD=1.95) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัดเป็นสัมพันธ์เชิงบวกเรียงลำดับความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value=.01) ตามลำดับ ดังนี้ ทัศนคติการมองโลกในแง่ดีมีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=.697) แรงสนับสนุนทางสังคมจากแพทย์/พยาบาลมีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=.651) แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว มีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=.544) และความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อได้ยาเคมีบำบัด มีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=.261)

 

สรุป : ระดับในการกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลทุ่งสง โดยรวมอยู่ในระดับสูงและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกำกับดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัดเป็นสัมพันธ์เชิงบวก

 

คำสำคัญ : ผู้ป่วยมะเร็ง  ยาเคมีบำบัด   การกำกับดูแลตนเอง

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2562.

วีรวุฒิ อิ่มสำราญ. รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งที่ไหนดี [ออนไลน์] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2563];Available from http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/index.php/2019/12/30/yn3377js4000db/

อมรรัตน์ จู้สวัสดิ์ (2563) เคมีบำบัด” กับการรักษามะเร็ง [ออนไลน์] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 กันยายน 2563]; Available fromhttp://thaicancernews.nci.go.th/_v2/index.php/category/lf3573je2427fj.

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ (2561). มองโลกในแง่ดี : ข้อคิดจากทีมหมูป่า [ออนไลน์] 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน2563]; จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645127.

วรัตถ์นันท์ ชุษณะโชติ. อิทธิพลของปัจจัยปกป้องที่มีต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต] ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561.

เบญจมาศ ตระกูลงามเด่น และ สุภวรรณ วงศ์ธีรทรัพย์. (2559) . ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครและคณะแพทยศาสตร์

วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์ 2559; 23 (2): 199-216.

บุณฑ์ราตรีส์ วานิชรัตนกุล, สุรีพร ธนศิลป์ และ จรรยา ฉิมหลวง. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยยาต้านมะเร็งชนิดรับประทานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561; 30(1) : 35-47.

ศุภลักษณ์ พื้นทอง,ทวีศักดิ์ กสิผลและชฎาภา ประเสริฐทรง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทาง

ครอบครัวกับความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลทหารบก 2562; 20(2): 165-71.

ยศยง จันทรวงศา.การสนับสนุนทางสังคม ความเหมาะสมกันระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมและความผูกพันในงาน กรณีศึกษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบนสายการบินแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต] ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30