การนำสายเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรออกทางหลอดเลือดดำด้วยการใช้เลเซอร์เนื่องจากภาวะติดเชื้อจากการใส่เครื่อง แล้วเปลี่ยนเป็นเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สายภายหลังในหน่วยตรวจสวนหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถโรงพยาบาลศิริราช
คำสำคัญ:
เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร, การนำสายเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรออกทางหลอดเลือดดำด้วยการใช้เลเซอร์, เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สายบทคัดย่อ
ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการนำไฟฟ้าหัวใจ หรือมีความผิดปกติของจุดกำเนิดไฟฟ้าของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้ากว่า 40 ครั้งต่อนาที หรือมีการหยุดการปล่อยกระแสไฟฟ้ามากกว่า 3.0 วินาที ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หน้ามืด เป็นลม หมดสติ แพทย์จึงพิจารณาใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร ตามคำแนะนำของ 2018 ACC/AHA/HRS Guideline เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดอาการเหนื่อย หน้ามืด เป็นลม หมดสติ อาจมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ 5 โดยเฉพาะการติดเชื้อซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย จึงมีความจำเป็นที่แพทย์ต้องผ่าตัดเพื่อนำเครื่องและสายเดิมออกเพื่อป้องกันการติดเชื้อรุกรานไปสู่อวัยวะอื่นที่สำคัญโดยเฉพาะหัวใจ หากสายที่ฝังมาเป็นเวลานานแล้วการผ่าตัดนำสายออกโดยวิธีปกติอาจไม่สามารถดึงออกได้ จึงต้องมีการใช้พลังงานจากเลเซอร์เพื่อสลายหรือทำลายเนื้อเยื้อที่เกาะบริเวณสายเพื่อช่วยให้การนำสายออกจากหัวใจได้ง่ายขึ้นเป็น Class I ตามคำแนะนำของ 2018 EHRA หลังจากนั้นแพทย์อาจพิจารณาใส่เครื่องทางเลือกใหม่เรียกว่า “เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สาย (Leadless pacemaker)” โดยการใส่เครื่องเข้าไปยังตำแหน่งของหัวใจห้องล่างขวา เพียงตำแหน่งเดียว จึงทำให้ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
References
2. Fleur V.Y. Tjong, Vivek Y. Reddy. Permanent Leadless Cardiac Pacemaker Therapy. CirculationJournal. 2017;(135):1458–1470
3. Fred M. Kusumoto, Mark H. Schoenfeld, Coletta Barrett, James R. Edgerton, Kenneth A. Ellenbogen, Michael R. Gold,et al. 2018 ACC/AHA/HRS Guideline on the Evaluation and Management of Patients With Bradycardia and Cardiac Conduction Delay. Journal of the American College of Cardiology (JACC). 2019;(7): e51–e156.
4. Maria G. Bongiorni(Chair), Haran Burri(Co-chair), Jean C. Deharo, Christoph Starck, Charles Kennergren, Laszlo Saghy,et al.2018 EHRA expert consensus statement on lead extraction: recommendations on definitions.
5. Medical dictionary. permanent pacemaker[Internet]. 2009 [cited 2021 July23]. Available from: https://medical-dictionary.thefreedictionary.com/permanent+pacemaker
6. Spectranetics, Inc. Lead Management Using Spectranetics Laser Technology, USA. 2011;32-45
7. endpoints, research trial design, and data collection requirements for clinical scientific studies and registries: endorsed by APHRS/HRS/LAHRS. European Society of Cardiology. 2018; (20): 1217a-1217j.
8. Cleveland Clinic. Pacemakers:Leadless pacemaker [Internet]. 2021 [cited 2021 July23]. Available from: https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/17166-pacemakers-leadless-pacemaker#risks--benefits
9. Yasar Sattar, Waqus Ullah, Sohaib Roomi, Hiba Rauf, Maryam Mukhtar, Asrar Ahmad,et al.Complications of leadless vs conventional (lead) artificial pacemakers a retrospective review. Journal of Community Hospital Internal Medicine Perspectives. 2020; 10(4): 328–333.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น