การทำฟันเทียมทั้งปากในผู้ป่วยที่มีสันเหงือกขากรรไกรล่างสลายตัวมาก : รายงานผู้ป่วย 1 ราย

ผู้แต่ง

  • วรพงศ์ สิชฌน์เศรษฐ์ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลท่าศาลา

คำสำคัญ:

ฟันเทียมทั้งปาก, เทคนิคพิมพ์ปากขณะใช้งาน, สันเหงือกขากรรไกรล่างสลายตัวมาก

บทคัดย่อ

เมื่อมีการสูญเสียฟันธรรมชาติทั้งปากจะมีการสลายตัวของสันเหงือกว่างที่เหลืออยู่อัตราการสลายของกระดูกเบ้าฟันจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาและแต่ละบริเวณในบุคคลเดียวกัน เมื่อสันเหงือกสลายตัวมากซึ่งพบได้บ่อยในกระดูกขากรรไกรล่างมักทำให้เกิดปัญหาคือ เจ็บเมื่อใช้งานฟันเทียม ฟันเทียมขาดเสถียรภาพและการยึดอยู่ที่เพียงพอ วัตถุประสงค์ของรายงานผู้ป่วยนี้เพื่อแสดงวิธีการทำฟันเทียมทั้งปากในผู้ป่วยอายุ 78ปีที่มีสันเหงือกล่างสลายตัวมาก มีอาการสำคัญคือฟันเทียมเก่าใช้เคี้ยวอาหารไม่ได้ ฟันเทียมทั้งปากบนและล่างหลวม ผู้ป่วยใช้งานฟันเทียมมา20 ปี  ตรวจในช่องปากพบว่ามีสันเหงือกล่างสลายตัวมาก ทันตแพทย์ใช้วิธีพิมพ์ปากขณะใช้งาน(functional impression technique)ในขากรรไกรล่างที่สันเหงือกสลายตัว และเลือกใช้การสบฟันระนาบเดียว(monoplane occlusion)ภายหลังการรักษา1 เดือนคนไข้มีความพึงพอใจในประสิทธิภาพการบดเคี้ยว ความสวยงาม การพูด และเสถียรภาพและการยึดอยู่ของฟันเทียมทั้งปาก

References

1. Tallgren A. The continuing reduction of the residual alveolar ridges in complete denture wearers: a mixed-longitudinal study covering 25 years. J Prosthet Dent 1972;27(2):120-32.
2. ดนัย ยอดสุวรรณ. ฟันเทียมทั้งปาก1. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2555.
3. Basker RM, Davenport JC, Thomasan JM. Prosthetic Treatment of the Edentulous Patient. 5thed. Oxford: Wiley Blackwell; 2011.
4. พจมาน ศรีนวรัตน์. ฟันเทียมทั้งปาก.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พี. เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด; 2555.
5. Farrell J. Full denture: A personal view. 1sted.London: Henry Kimpton Publishers; 1976.
6. Winkler S. Essentials of complete denture prosthodontics. 2nded. St. Louis: Mosby; 1998.
7. Lang BR. Complete denture occlusion. Dent Clin North Am 2004;48:641-65.
8. Boucher CO. A critical analysis of mid- century impression techniques for full dentures. J Prosthet Dent 1951;1:472-91.
9. Chaffee NR, Cooper LF, Felton DA. A technique for border molding edentulous impressions using vinyl polysiloxane material. J Prosthodont1999;8:129-34.
10. Collett HA. Final impressions for complete dentures. J Prosthet Dent 1970;23:250-64.
11. H. Murata, M. Kawamura, T. hamada, S. Saleh, U. Kresnoadi, K. Toki. Dimensional stability and weight changes of tissue conditioners. Journal of Oral Rehabilitation 2001;28:918-23.
12. De Franco RL, Sallustio A. An impression procedure for severely atrophied mandible. J Prosthet Dent 1995;73:574–7.
13. Yurkstas A, KapurKK.Factors influencing centric relation record in edentulous mouths. J Prosthet Dent 1964;14:1954-65.
14. Kantor ME, Silverman SI and Garfinkel L.Centric relation recording techniques: A comparative investigation.JProsthet Dent 1972;28:593-600.
15. Gronas DG, Stout CJ. Lineal occlusion concepts for complete dentures. J Prosthet Dent1974;32:122-9.
16. วีรวัฒน์ นิวัฒเจริญชัยกุล. ผลของรูปแบบการสบฟันของฟันเทียมทั้งปากต่อสมรรถนะการบดเคี้ยวและแรงสบฟันสูงสุด [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
17. Murrell GA. The management of difficult lower dentures. J Prosthet Dent 1974;32: 243-50.
18. Fenton AH. Selecting and arranging prosthetic teeth and occlusion for the edentulous patient. In: Zarb GA, Bolender CL, editors.Prosthodontic treatment for edentulous patient: Complete denture and implant-supported prosthesis. 12thed.St.Louis: Mosby; 2004. p.298-328.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01