ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
บทคัดย่อ
บทนำ:โรคเบาหวานในกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ย เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของเกาะลันตา
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่
วัสดุและวิธีการ:เป็นการวิจัยภาคตัดขวางเชิงพรรณนาศึกษาในกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 115 คน ระหว่าง เม.ย. ถึง พ.ค.2564 ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย:จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 53.85 ปี (+13.51) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.90 มีภาวะน้ำหนักเกิน ร้อยละ 58.10 มีค่า BMI ระหว่าง 24.84–68.52 kg/m2มีค่าHbA1c เฉลี่ย 9.69 % (+3.25) มีค่าน้ำตาลระหว่าง 4.16–21.00 % และมีรอบเอวเฉลี่ย 35.05 นิ้ว (+5.48)พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ การบริโภคอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลการจัดการอารมณ์และด้านการปฏิบัติกรณีเจ็บป่วย มีคะแนนเฉลี่ย 21.62(+6.01),12.85(+3.74),16.20(+4.25),24.88 (+6.13) และ9.79(+2.48) ตามลำดับ
สรุป:ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย ระดับการศึกษา อายุ โรคประจำตัว การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ การรับรู้สมรรถนะของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม จึงควรมีการให้ความรอบรู้ในการควบคุมระดับน้ำตาลให้มีการประเมินการรับรู้สมรรถนะและการปฏิบัติการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่อง
References
2. Ayele,Ketema.(2012).Self-care behavioramongpatientswithdiabetesinHarari, EasternEthiopia: the healthbeliefmodelperspective.PLoSOne,7(4),1-6. doi:10.1371/journal.pone.0035515.
3. Civil Registration Group. General information of Koh Lanta District.Koh Lanta District Office, 2020.
4. Non-communicable disease control group. Annual performance summary report2020. Koh Lanta District Public Health Office, 2020.
5. Non-communicable disease control group. Non-communicable disease control action plan2018 - 2020. Koh Lanta District Public Health Office, 2020.
6. Non-communicable disease control group. Annual performance summary2020. Krabi Provincial Public Health Office. 2020.
7. Arun Jirawatkul. Biostatistics for Health Science Research.KhonKaen.Klung Nana Wittaya Printing;2004.
8. BoonthamKitpreedaborisut, Statistics for research analysis. Bangkok: Faculty of Social Sciences and Humanities Mahidol University. 2000.
9. Sirirat Piyaphatkul. Behavior of glycemic control in diabetic patientsType 2 in the responsible area of the KaengKhro District Health Station Chaiyaphum Province.Master of Public Health,KhonKaen University. 2011.
10. RuenjitPetchit.Self-care behavior and glycemic control of diabetic patients, Khiansa Hospital SuratThani Province.Journal of the College of Nursing and Southern Public Health2015;2(2),15-28.
11. AmornratPiromchom. Factors Influencing Self-Care Behavior of Type 2 Diabetes Patients in Nong Bua Rawe District Chaiyaphum Province. Office of Disease Prevention and Control 6, KhonKaen 2012; 19(1), 1-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น