การรักษาผู้ป่วยเด็กที่ได้รับบาดเจ็บในช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุ ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การบาดเจ็บในช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุ, การรักษาแบบประคับประคอง, การบาดเจ็บของอวัยวะตัน, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องบทคัดย่อ
บทนำ: การบาดเจ็บในช่องท้องของผู้ป่วยเด็กพบได้ไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่แต่เป็นสาเหตุสำคัญของ ความพิการ และเสียชีวิตในเด็ก การรักษาการบาดเจ็บในช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุ และได้ รับการบาดเจ็บของอวัยวะตัน (Solid organ injury) มีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีต การศึกษานี้จึงเป็น การทบทวนการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรักษาผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ที่ได้รับบาดเจ็บในช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุ (Blunt abdominal injury) ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 - 31 ธันวาคม 2563
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study) โดยการรวบรวม ข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการบาดเจ็บในช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 37 ราย อายุเฉลี่ย 10 ปี 6 เดือน เพศชาย 27 ราย (73%) และเพศหญิง 10 ราย (27%) ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบการประคับประคอง 27 ราย (73%), ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด 8 ราย (22%) และได้รับการส่งตัวไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า 2 ราย (5%) ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด พบว่ามีการบาดเจ็บของอวัยวะกลวง (hallow viscus organ injury) 5 ราย, การบาดเจ็บของตับอ่อนและกระเพาะ 1 ราย, การบาดเจ็บของตับ 1 รายและการบาดเจ็บของม้าม 1 ราย ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองได้รับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทุกราย พบการบาดเจ็บของอวัยวะช่องท้องเพียงอย่างเดียว 14 ราย การบาดเจ็บของหลายอวัยวะ 13 ราย อวัยวะในช่องท้องที่ได้รับการบาดเจ็บประกอบด้วยการบาดเจ็บของม้าม 11 ราย ตับ 9 ราย ตับและม้าม 5 ราย ตับและไต 1 ราย ม้ามและไต 1 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษา โดยการงดน้ำและอาหาร ให้สารน้ำ ติดตามความเข้มข้นของเลือด และสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด ผลการศึกษาพบว่าไม่มีผู้ป่วย ต้องได้รับการผ่าตัดในภายหลัง และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต
สรุป: การรักษาภาวะบาดเจ็บในช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุและเป็นการบาดเจ็บของ solid organ ในเด็กที่สัญญาณชีพคงที่สามารถให้การรักษาแบบการประคับประคองได้อย่างปลอดภัย
References
2. Holcomb GW, Murphy JP, St Peter SD. Holcomb and Ashcraft's pediatric surgery E-Book: Elsevier Health Sciences; 2019.
3. Loggers S, Koedam T, Giannakopoulos G, Vandewalle E, Erwteman M, Zuidema W. Definition of hemodynamic stability in blunt trauma patients: a systematic review and assessment amongst Dutch trauma team members. European Journal of Trauma and Emergency Surgery. 2017;43(6):823-33.
4. Yanar H, Ertekin C, Taviloglu K, Kabay B, Bakkaloglu H, Guloglu R. Nonoperative treatment of multiple intra-abdominal solid organ injury after blunt abdominal trauma. Journal of Trauma and Acute Care Surgery. 2008;64(4):943-8.
5. Wisner DH, Kuppermann N, Cooper A, Menaker J, Ehrlich P, Kooistra J, et al. Management of children with solid organ injuries after blunt torso trauma. Journal of trauma and acute care surgery. 2015;79(2):206-14.
6. Notrica DM, Eubanks III JW, Tuggle DW, Maxson RT, Letton RW, Garcia NM, et al. Nonoperative management of blunt liver and spleen injury in children: evaluation of the ATOMAC guideline using GRADE. Journal of Trauma and Acute Care Surgery. 2015;79(4):683-93.
7. Tinkoff G, Esposito TJ, Reed J, Kilgo P, Fildes J, Pasquale M, et al. American Association for the Surgery of Trauma Organ Injury Scale I: spleen, liver, and kidney, validation based on the National Trauma Data Bank. Journal of the American College of Surgeons. 2008;207(5):646-55.
8. Anil M, Saritas S, Bicilioglu Y, Gokalp G, Can FK, Anil AB. The Performance of the Pediatric Trauma Score in a Pediatric Emergency Department: A Prospective Study/Pediyatrik Travma Skorunun Cocuk Acil Servisindeki Performansi: Ileriye Yonelik Bir Calisma. Journal of Pediatric Emergency and Intensive Care Medicine. 2017;4(1):1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น