การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการเจาะคอเร็วและช้าในผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลท่าศาลา

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ แซ่อึ้ง โรงพยาบาลท่าศาลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

บทนำ : การเจาะคอเป็นการผ่าตัดเพื่อช่วยป้องกันทางเดินหายใจของในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจโดยเฉพาะในหอผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งปัจจุบันจากการศึกษาการเจาะคอเร็ว(early tracheostomy)หลังใส่ท่อช่วยหายใจไม่นานจะช่วยลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจและลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนักได้ รวมทั้งลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจนานได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิต ของผู้ป่วยเจาะคอในกลุ่มที่ได้รับการเจาะคอเร็วเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการเจาะคอช้า

วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาแบบเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) ในผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอทั้งหมดในโรงพยาบาลท่าศาลาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 – 31 มกราคม 2564โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ศึกษาอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเจาะคอเร็วเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการเจาะคอช้า

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 85 ราย เป็นผู้ป่วยที่เจาะคอทันทีจำนวน 11 ราย (ร้อยละ 12.9) เป็นผู้ป่วยเจาะคอเร็ว 29 ราย (ร้อยละ 34.1) และเจาะคอช้าจำนวน 45 ราย (ร้อยละ 52.9) โดยการเจาะคอเร็วมีอัตราการเสียชีวิต 4 ราย (ร้อยละ 13.8) และผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอช้า 20 ราย (ร้อยละ 44.4) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยเจาะคอเร็วและเจาะคอช้าค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล(113,960vs 227,863, p= <0.001), เวลานอนโรงพยาบาล(19vs43, p=<0.001), เวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ(10.5วัน vs 30วัน, p=<0.001)  การติดเชื้อจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ร้อยละ10.3vs 33.3, p=0.049) และ ADL scoreซึ่งเป็นค่าวัดความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยในกลุ่มเจาะคอเร็วมีค่ามากกว่า 12 ซึ่งสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีกว่ากลุ่มที่เจาะคอช้า (ร้อยละ51.7vs22.2,p=0.013)โดยปัจจัยทางคุณลักษณะของผู้ป่วย เช่น อายุ โรคประจำตัว เพศ การวินิจฉัยโรค พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่าง2กลุ่ม

สรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเจาะคอเร็วมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 13.8และผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอช้าร้อยละ 44.4 ในผู้ป่วยเจาะคอเร็วมีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่สั้น ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจอัตราการติดเชื้อจากใช้เครื่องช่วยหายใจ และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าผู้ป่วยเจาะคอช้า

References

1. Van Heurn LW, Brink PR. The history of percutaneous tracheostomy. The Journal of Laryngology and Otology. 1996;110:723-6.
2. Upadhyay A, Maurer J, Turner J, Tiszenkel H, Rosengart T: Elective bedside tracheostomy in the intensive care unit. J Am Coll Surg 1996, 183:51-5.
3. Terra RM, Fernandez A, Bammann RH, Castro AC, Ishy A, Junqueira JJ: Open bedside tracheostomy: routine procedure for patients under prolonged mechanical ventilation. Clinics. 2007,62(4):427-32
4. Heffner JE. Medical indications for tracheostomy. Chest. 1989; 96:186–90
5. Heffner JE, Miller KS, Sahn SA: Tracheostomy in the intensive care unit. Part 1: Indications, technique, management. Chest 1986, 90:269-74.
6. Astrachan DI, Kirchner JC, Goodwin WJ Jr: Prolonged intubation vs. tracheotomy: complications, practical and psychological considerations. Laryngoscope 1988, 98:1165-9.
7. Diehl JL, El Atrous S, Touchard D, Lemaire F, Brochard L: Changes in the work of breathing induced by tracheotomy in ventilator-dependent patients. Am J Respir Crit Care Med 1999, 159:383-8.
8. Zeitouni AG, Kost KM: Tracheostomy: a retrospective review of 281 cases. J Otolaryngol 1994, 23:61-6.
9. Stock MC, Woodward CG, Shapiro BA, Cane RD, Lewis V, Pecaro B: Perioperative complications of elective tracheostomy in critically ill patients. Crit Care Med 1986, 14:861-3.
10. Ranes JL, Gordon SM, Chen P, Fatica C, Hammel J, Gonzales JP, et al. Predictors of long-term mortality in patients with ventilator-associated pneumonia. The American Journal of Medicine 2006;119(10):819.e13-9.
11. Holzapfel L, Chevret S, Madinier G, Ohen F, Demingeon G, Coupry A, et al. Influence of long-term oro- or nasotracheal intubation on nosocomial maxillary sinusitis and pneumonia: results of a prospective, randomized, clinical trial. CritIcal Care Medicine 1993;21(8):1132-8.
12. Cavaliere S, Bezzi M, Toninelli C, Foccoli P. Management of postintubation tracheal stenoses using the endoscopic approach. Monaldi Archives for Chest Disease 2007;67(2):73-80.
13. Brook AD, Sherman G, Malen J, et al. Early versus late tracheostomy in patients who require prolonged mechanical ventilation. Am J Crit Care 2000; 9:352–9
14. Aissaoui Y, Azendour H, Balkhi H, Haimeur C, Kamili Drissi N, Atmani M. Timing of tracheostomy and outcome of patients requiring mechanical ventilation. Annales Françaises d'Anesthèsie et de Rèanimation 2007;26(6):496-501.
15. Andriolo BNG, Andriolo RB, Saconato H, Atallah ÁN, Valente O. Early versus late tracheostomy for critically ill patients. Cochrane Database of Systematic Reviews 2015, Issue 1. Art. No.: CD007271. DOI: 10.1002/14651858.CD007271.pub3.
16. Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning, 384-5.
17. Fleiss, J. L., Levin, B., Paik, M. C. (2003). Statistical methods for rates and proportions (3rd ed.). John Wiley&Sons, 76.
18. Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. (2014). n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund&Prince of Songkla University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01