ผลการใช้ Maharaj Pediatric Respiratory Care Program ในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นลินี พวงมาลา กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
  • ฉัตรกมล ชูดวง กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
  • อัจจิมาวดี พงศ์ดารา กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

โรคระบบหายใจเรื้อรัง, โรคปอดเรื้อรัง

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคระบบหายใจเรื้อรังหรือ Chronic lung disease (CLD) เป็นผลจากการที่ได้รับการช่วยหายใจจากเครื่องช่วยหายใจหรือการให้ออกซิเจน ในกระบวนการบำบัดรักษาเพื่อการรักษาชีวิต มีผลทำให้เนื้อเยื่อปอดเกิดการบาดเจ็บและอักเสบจนเกิดเป็นพังผืด ทำให้มีสมรรถภาพปอดผิดปกติและสูญเสียหน้าที่ในการทำงาน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาหลายระบบในร่างกาย ดังนั้นนอกจากจะพึ่งพาเทคโนโลยีแล้วยังต้องมีการดูแลเรื่องอื่นๆควบคู่กันไปด้วย และเมื่อกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้านมักมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่าง เช่น ออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ ท่อเจาะคอ ยาขยายหลอดลม เครื่องช่วยหายใจ และการให้อาหารทางสายยาง เป็นต้น เพื่อประคับประคองชีวิตจนกว่าสมรรถภาพทางปอดเป็นปกติ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรม Maharaj Pediatric Respiratory Care Program ในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะโรคระบบหายใจเรื้อรัง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนประวัติผู้ป่วยเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคระบบหายใจเรื้อรัง และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัวกลับบ้าน ได้แก่ ออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ ท่อเจาะคอ ยาขยายหลอดลม เครื่องช่วยหายใจ และการให้อาหารทางสายยาง โดยเข้ารับการรักษาที่แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564

ผลการศึกษา:  ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยโรคระบบหายใจเรื้อรัง ทั้งสิ้น 217 คน ผู้ป่วยที่อาการคงที่ 136 คน (ร้อยละ 62.6)  อาการดีขึ้นและจำหน่ายออกจากโครงการ 52 คน(ร้อยละ 23.9) ผู้ป่วยอาการดีขึ้น (ไม่ต้องให้ออกซิเจน /ไม่ต้องใช้ยาพ่นชนิดคอร์ติโคสเตียรอด์) และยังติดตามอาการ 8คน (ร้อยละ3.6) เสียชีวิต 21 คน (ร้อยละ 9.67) จำนวนผู้ป่วยที่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลในปี พ.ศ.2554-2555 มีจำนวนเฉลี่ย 3-4 ครั้ง/ปี/คน หลังจากใช้ Maharaj Pediatric Respiratory Care Program มีผู้ป่วยที่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ปีพ.ศ. 2555-2560 เฉลี่ย1-2ครั้ง/ปี/คน และตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบันพบว่าไม่มีการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

สรุป: การใช้ Maharaj Pediatric Respiratory Care Program ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ช่วยลดอัตราการกลับมารับการรักษาซ้ำของผู้ป่วย ผู้ดูแลเกิดความมั่นใจในการดูแลและพึงพอใจต่อการรักษา

References

1. Cockett, A. (2012). Technology dependence and children:a review of the evidence. Nursing Children & Young People, 24(1), 32-35.
2. Boroughs, D., & Dougherty, J. A. (2016).In home care of the child on chronic mechanical ventilation.in L.M. Sterni&J.L.Carroll(Eds),Caring for the ventilator Dependent Child.New York City,NY:Springer Science and Business Media.
3. วรรณฤดี เชาว์ศรีกุล. (2560). ประสบการณ์ : การดูแลผู้ป่วยเด็กพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจที่บ้านโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลาง.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, พ.ค-ก.ย.60 ,18(2), 3-4
4. Bhandari A, Panitch HB. Pulmonary Outcomes in Bronchopulmonary Dysplasia.semin Perinatol.2006; 30(4): 219-26.
5. Jobe AH. Mechanisms of Lung injury and Bronchopulmonary Dysplasia. American Journal of Perinatology. 2016; 33(11): 1078-8
6. Shaw N.J. Long Term Pulmonary Outcome in the Preterm infant. Neonatalogy. (2008) ; doi:10.1159/000121459:324-327
7. Davidson LM, Berkelhamer SK. Bronchopulmonary Dysplasia: Chronic lung Disease of infancy and Long-Term Pulmonary Outcomes. Journal of Clinical Medicine.2017; 6(1).
8. Groothuis JR, Makari D. Definition and Outpatient Management of the Very Low-Birth-Weight infant With Bronchopulmonary Dysplasia. Advances in Therapy. 2012; 29(4); 297-311.
9. Edwards, J. D., Kun, S. S., & Keens, T. G. (2010). Outcomes and causes of death in childen on home mechanical ventilation via tracheostomy: An institutional and literature review journal of pediatric, 157(16), 955.e2-959.e2.
10. Anderson, A.(2018). Getting and giving report. The American Journal of Nursing, 118(6), 56-60. doi:10.1097/01.
11. ณัฏฐนิช ทองสัมฤทธิ์ และปริชวัน จันทร์ศิริ. (2559). ภาวะจิตสังคมในมารดาเด็กโรคปอดเรื้อรัง.จุฬาลงกรณ์เวชสาร, ก.ย.–ต.ค., 60(5), 575 –88
12. กนกจันทร์ เขม้นการ และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลของพยาบาล ต่อความรู้และการรับรู้ถึงความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการดูแลผู้ป่วยเด็ก ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร, ธ.ค., 44(2), 71-80
13. กันทิมา ขาวเหลือง, ปรีย์กมล รัชนกุล และ เรณู พุกบุญมี. (2555). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่อง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ม.ค.-มิ.ย., 6(1), 27-39
14. วนิสา หะยีเซะ และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลและติดตามทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, ม.ค. - เม.ย., 12(1),1-13

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01