ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • กานต์ชนก สุทธิผล กลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

เบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจัย, คุมระดับน้ำตาล

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตแต่มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีต่ำกว่าเกณฑ์

วัตถุประสงค์ :เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยเก็บแบบสอบถามข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่ 22 มกราคม 2563 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2563 นำเสนอเป็นจำนวนร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยt-test independent และ Chi-square test

ผลการศึกษา : กลุ่มผู้ป่วย 250 ราย พบว่าอายุของกลุ่มที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่ากลุ่มคุมไม่ได้ และระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารของกลุ่มที่คุมได้น้อยกว่า (p< 0.01) ระยะเวลาเกิดโรคของกลุ่มที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้นั้นน้อยกว่า การมีโรคความดันโลหิตสูงจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวานกับการคุมระดับน้ำตาลในเลือด(p < 0.05) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ ปัจจัยด้ายกายภาพอื่นๆ ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และอารมณ์ ไม่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือด

สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือด คือ อายุ ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ระยะเวลาการเกิดโรค การมีโรคความดันโลหิตสูง และโรคจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน จึงควรพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามปัจจัยดังกล่าวและศึกษาปัจจัยด้านการรักษาเพิ่มเติม

References

1. International Diabetes Federataion. (2017). IDF Diabetes Atlas - 8th Edition.เข้าถึงได้จาก © International Diabetes Federation, 2017: www.diabetesatlas.org
2. rbr.hdc.moph.go.th [cited 2019 April 6]
3. ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย.โนโว นอร์ดิสค์. 2560; 3.
4. Williamson, et al.,2007. The action to control cardiovascular risk in diabetes memory in diabetic study (ACCORD-MIND). The American Journal of Cardiology Vol 99 (12A) June 18, 2007; [เข้าถึงเมื่อ May 30th,2019]. เข้าถึงได้จาก Available from:https://care.diabetesjournals.org/content/32/8/e103
5. Stratton IM, Adler AI, Neil HAW, et al. Association of glycaemia with macrovascular and microvascular complications of type 2 diabetes (UKPDS 35): prospective observational study.BMJ 2000;321:405–412
6. กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.ว. พยาบาลทหารบก 2557;15(3):256-68
7. นันทวัน ศรีสุวรรณ. พฤติกรรมสุขภาพสำหรับทำนายระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสมุทรปราการ[วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
8. ดวงใจ พันธ์อารีวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใน โรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี. ว.แพทย์เขต 4-5 2561;37(4):294-305
9. อมรรัตน์ รักฉิม, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปากพนัง จังหวันครศรีธรรม-ราช. ใน; การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” หัวข้อวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 27-28 มีนาคม 2561.
10. ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานที่ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี.ว. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6(3):102-9
11. American Diabetes Association. Life style management. Sec. 6. In Standards of Medical Care in Diabetes-2019. Diabetes Care 2019;42(Suppl. 1);S46-55.
12. อรพินท์ สีขาว, รัชนี นามจันทรา และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวเฉียว. วารสารพยาบาลทหารบก.2556;14:39-49
13. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560.กรุงเทพฯ:สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย; 2560.
14. ชลวิภา สุลักขณานุรักษ์, วโรดม ใจสนุก, เบญจา มุกตพันธุ์. ความสัมพันธ์ของภาวะซึมเศร้าและความเครียดกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน ของโรงพยาบาลน้ำพองจังหวัดขอนแก่น.ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559; 31.
15. ธิติพันธ์ ธานีรัตน์,ความชุกของภาวะซึมเศร้า ระดับน้ำตาลในเลือดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที 2 ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก คลินิกต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551
16. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รู้จักโรคซึมเศร้า.[online] 2550.[เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559].Available from:http://www.dmh. go.th/news/ view.asp?id=1037
17. Wayne WD. Biostatistics : A foundation of analysis in the health sciences (6 th ed.) John Wiley &Sons.Inc.; 1995. p 180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01