การท่องเที่ยวไทยในสถานการณ์โรคระบาด
บทคัดย่อ
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน แนวโน้มความต้องการของประชากรโลกส่งผลให้สภาพสังคมโลกและสังคมไทยเปลี่ยนไป ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างเอกเทศ แต่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจาติดต่อกับประเทศอื่น ๆ เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ โดยทุกประเทศต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเชิงบวกและเชิงลบเพื่อปรับตัวให้พร้อมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หนึ่งในแนวโน้มความต้องการของประชากรโลกที่ส่งผลดีต่อประเทศไทยอย่างมหาศาลในด้านเศรษฐกิจก็คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนจำนวนมาก เนื่องจากประเทศไทยมีวัฒนธรรม ประเพณี และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และสวยงาม แต่ในทางกลับกันแนวโน้มความต้องการของประชากรโลกที่บ่าไหลเข้ามานั้นก็แฝงมาด้วยภัยร้ายอย่างโรค “Covid-19” (Coronavirus Disease 2019) ที่อันตรายร้ายแรงยากแก่การป้องกันและคร่าชีวิตคนไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ทุกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยต้องหยุดลงไป ช่องทางการเข้าออกประเทศถือได้ว่าเป็นด่านที่สำคัญที่สุดในการคัดกรองป้องกันและสกัดเชื้อโรคจากภายนอกประเทศที่ทำให้เกิดการติดต่อและแพร่ระบาดต่อประชากรภายในประเทศไทยอย่างมาก ดังนั้น ประเทศไทยควรใช้หลักการระบาดวิทยาเพื่อกำหนดแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อตามช่องทางเข้าออกของประเทศไทยทุกช่องทางอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะช่องทางเข้าออกประเทศทางธรรมชาติที่มักหละหลวมในการควบคุมและตรวจสอบ อีกทั้งยังต้องควบคุมและกำหนดปริมาณนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเข้าออกประเทศไทยเพื่อความสะดวกในการติดตามเมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคอีกด้วย
References
2. เจษฎา ธนกิจเจริญกุล. หลักการระบาดวิทยา การเฝ้าระวังทางสาธารณสุข และการสอบสวนโรคทางระบาดวิทยา. ในกองควบคุมโรค และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค, 2558.
3. จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ. วิทยาการระบาดกับการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ หน่วยที่ 13 วิทยาการระบาด และการควบคุมโรค. ในเอกสารการสอนชุดวิชา หน่วยที่ 8-15 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556.
4. แนวทางปฏิบัติส าหรับเจ้าของกิจการ/ผู้ให้บริการ/ผู้ใช้บริการ. ในคู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการ และกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา2019 (Covid-19). กรมการท่องเที่ยว,2563
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น