ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยา สำหรับผู้ป่วยจิตเภท โดยญาติมีส่วนร่วม หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ อดิสรณกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการและคณะพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, ครอบครัวหรือผู้ดูแล, ความร่วมมือในการรับประทานยา

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคจิตเภทมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาทางยาเพื่อควบคุมอาการ  พบว่า  ปี 2560-2562หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ พบปัจจัยที่ทำให้กลับมารักษาซ้ำ ตั้งแต่ครั้งที่ 2 ขึ้นไป ส่วนใหญ่ขาดยา ร้อยละ 60 และรองลงมา ขาดผู้ดูแล ร้อยละ 20

วัตถุประสงค์:เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องโรคจิตเภทและการรักษาด้วยยาและทักษะการจัดยาของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังสิ้นสุดการบำบัดเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่อง

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลาระหว่างเดือนมิถุนายน2563 – สิงหาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาสำหรับผู้ป่วยจิตเภทได้มีการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คนกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 60 รายเป็นเพศชาย จำนวน 51 ราย เพศหญิงจำนวน 9ราย ครอบครัวหรือผู้ดูแล จำนวน 30 ราย

ผลการศึกษา:จากการวิจัย พบว่า ความร่วมมือในการรับประทานยาความรู้เรื่องโรคจิตเภทและยาทางจิตเวช ทักษะในการจัดยารับประทานของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในกลุ่มทดลองหลังสิ้นสุดการการบำบัดมากกว่าก่อนได้รับการบำบัดและนอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วยมีเจตคติที่ดีขึ้น พร้อมจะรับประทานยาเพื่อให้สามารถทำงานได้ ส่วนทางครอบครัวหรือผู้ดูแล มีความเข้าใจพยาธิสภาพของโรคจิตเภทมากยิ่งขึ้น ต้องการดูแลผู้ป่วยให้รับประทานยาต่อเนื่อง

สรุป: การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรับประทานยาจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้ป่วยและครอบครัวหรือผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ เรื่องโรคจิตเภท และการรักษาด้วยยา และมีการให้คำปรึกษารายบุคคล รวมทั้งการจัดประสบการณ์ด้วยการฝึกทักษะการจัดยา พร้อมทั้งส่งเสริมให้ครอบครัวหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

References

1. กรมสุขภาพจิต.รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวชประจำปีงบประมาณ 2558. [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561].จาก: http://www.dmh.go.th/report/datacenter/map/reds.asp.
2. ณัฐติกาชูรัตน์. การศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2559; 3 : 24-35.
3.หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. รายงานสถิติผู้ป่วยประจำปี2562.
4.มารุต พัฒผล. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มการรู้คิด.[สืบค้นเมื่อ 18กุมภาพันธ์2563].จาก: http://www. curriculumandlearning.com/upload/Books/Cognitive%20Theory_1597201266.pdf

5. เพชรี คันธสายบัว.การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซ้ำและไม่ป่วยซ้ำ. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544 : หน้า 94.
6.ชนานันท์แสงปาก,ภัทราภรณ์ทุ่งปันคำ,วรนุชกิตสัมบันท์. ผลของการบำบัดเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่องต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชน. Nursing Journal 2017;44:137-48.
7.นภาภรณ์ พึ่งเกศสุนทร, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย.ผลของโปรแกรมบำบัดครอบครัวต่อภาระการดูแล ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน.วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและสุขภาพจิต 2554; 25: 51-63.
8.วัชรินทร์วุฒิรณฤทธิ์.การส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาสำหรับผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต2560; 31 : 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30