ผลของโปรแกรมการส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก ที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • รัตนา พัฒนธรรมรัตน์ งานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย, ความรู้และทักษะของผู้ดูแล, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

บทคัดย่อ

บทนำ : ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในช่วงปี พ.ศ.2567-2568 มากกว่าครึ่งของผู้สูงอายุ จะเกิดสะโพกหัก และยังมีผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ถึงร้อยละ 62.7  ซึ่งต้องการผู้ช่วยเหลือดูแล ร้อยละ 71 จากสถิติแผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ปี 2560-2562 พบว่ามีผู้สูงอายุสะโพกหัก จำนวน 73, 98 และ 142 รายตามลำดับ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมการส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก และเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ต่อความรู้ ทักษะของผู้ดูแล และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (one-group pretest-posttest design) โดยประยุกต์ใช้แนวคิด ของ บลูม (Bloom,1995) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก และเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม จำนวน 47 คน ได้รับการจัดเข้าผลของโปรแกรมการส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและแบบบันทึกข้อมูลของผู้ดูแล แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย ส่วนที่ 2  แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้แล ส่วนที่ 3 แบบประเมินความรู้ของผู้ดูแลในการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ส่วนที่ 4 แบบประเมินทักษะผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วย และส่วนที่ 5 แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

ผลการศึกษา:  ผู้ดูแลมีคะแนนความรู้เฉลี่ย สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรม อยู่ในระดับมากและปานกลาง ตามลำดับ มีทักษะการดูแลสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม ทั้ง 3 ระดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้ดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าโปรแกรม

สรุป: โปรแกรมการส่งเสริมฯ ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช สามารถส่งเสริมให้ผู้ดูแล มีความรู้ และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักและเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้ ตลอดจนผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น

References

1. ธนพร รัตนาธรรมวัตน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก. [ปริญญา พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต] .กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
2. อภิรมย์ ทะดวงศร,พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ,ดุสิต สุจิรารัตน์.ผลของโปรแกรมการลดความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก.วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2561; 32(2) : 81-94.
3. จันทรา พรหมน้อย, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์,ประนอม หนูเพชร.ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาล:กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์.วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร 2548; 23(6) : 405-12.
4. มานี หาทรัพย์,มงคลชัย หาทรัพย์, ทัศนีย์ นะแส.ความรู้ความสามารถของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักทีได้รับการผ่าตัดรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2557; 34(2) : 53-66.
5. วีนา วงษ์งาม, กนกพร สุคำวัง, ภารดี นานานศิลป์.ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้น.วารสารพยาบาลสาร 2557; 41(2) : 72-82.
6. สุมนา แสนมาโนช.ผลการส่งเสริมให้ญาติมีส่วนร่วม ในการดูแลผู้สูงอายุสะโพกหักที่ได้รับการเปลี่ยนสะโพกเทียมต่อการฟื้นการสภาพหลังผ่าตัด ความวิตกกังวลของญาติ และ ความพึงพอใจ ของผู้ป่วยและญาติ.กรุงเทพมหานคร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2541.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30