ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย

ผู้แต่ง

  • สมพร อยู่ดี กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ยานอร์อิพิเนฟริน, หลอดเลือดดำอักเสบ, ภาวะเนื้อตายจากการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือด

บทคัดย่อ

บทนำ: นอร์อิพิเนฟรินเป็นยาตีบหลอดเลือดที่นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) และภาวะเนื้อตายจากการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือด (Extravasation) เนื่องจากเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มทำลายเนื้อเยื่อ ดังนั้นการป้องกันโดยใช้แนวปฏิบัติจึงมีความสำคัญ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ Phlebitis/Extravasation ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ 2) ศึกษาความพึงพอใจและการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯของพยาบาล

วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มที่อิสระต่อกัน เก็บข้อมูลในผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ณ.หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม 3 ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 25 คนและใช้แนวปฏิบัติฯที่พัฒนาขึ้นจำนวน 25 คน ประเมินผลโดยเปรียบเทียบอัตราอุบัติการณ์การเกิด Phlebitis/Extravasation ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ ประเมินความพึงพอใจและการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติฯจำนวน 34 คน

ผลการศึกษา: พบว่าอุบัติการณ์ Phlebitis/Extravasation ในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯต่ำกว่ากลุ่มที่ให้การพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05 พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติฯในระดับมากทุกข้อได้แก่ มีความชัดเจน มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในหน่วยงาน มีความสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ สามารถแก้ปัญหาและเกิดผลดีต่อผู้ป่วย และทุกคนปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯที่พัฒนาขึ้นครบถ้วนทุกข้อ

สรุป: แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลายที่พัฒนาขึ้นช่วยป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ Phlebitis/Extravasation ได้จริง จึงควรนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลายทุกรายต่อไป

References

1. Norepinephrin pharmacy.nkh.go.th. Available from:https://www.kkh.go.th/wp-content/uploads/2019/05/KKH-HAD-2562-Handbook.pdf.
2. Martin C, Viviand X, Leone M, et al: Effects of norepinephrine on the outcome of septic shock. Crit Care Med 2000; 28:2758-65.
3. คณะกรรมการพัฒนาระบบยาโรงพยาบาลขอนแก่น. การปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลขอนแก่น ฉบับปรับปรุง พฤษภาคม 2562. สืบค้นจาก 202.28.95.4 (21 พฤษภาคม 2563)
4. ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. การป้องกันและจัดการกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำจากการบริหารยาทางหลอดเลือดดำ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560;37(2):169-81.
5. ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการกับภาวะ extravasation. วารสารสภาการพยาบาล 2559;31(2):81-95.
6. ปาจรีย์ ศักดิ์วาลีสกุล และอุษณีย์ ศิริวงศ์พรหม. ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับยานอร์อิพิเนฟริน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2562;25(2):92-108.
7. งานควบคุมคุณภาพกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 2563.
8. Bartz, A. E. Basic statistical concepts. (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall;1999.
9. สมคิด สีหสิทธ์. Evidence Base Practice. การประเมินระดับงานวิจัยเกณฑ์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย 2557. สืบค้นจาก https://www.tns.mahidol.ac.th.
10. ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พรี-วัน;2562.
11. อนัญญา ทาเสนาะ. แนวทางการจัดการ Extravasation โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1/2555). งานเภสัชสนเทศและพัฒนาระบบยากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. สืบค้นจาก www.srisangworn.go.th>depart>phamacy>คู่มือการใช้ยา (21 พฤษภาคม 2563).
12. Guideline for Non-Chemotherapeutic Agents: Prevention and Treatment of Chemical Phlebitis and Extravasation of Peripherally Administered Non-chemotherapeutic Agents – Adult/Pediatric – Inpatient Clinical Practice Guide line. Available from: www.UWhealth.org>cckm>cpq>medication> Extravasation.
13. Osama M. Loubani, Robert S. Green. A systematic review of extravasation and local tissue injury from administration of vasopressor through peripheral intravenous catheters and central venous catheter. Journal of Critical Care 2515;30:653.e9-17.
14. Workman B. Peripheral intravenous therapy management. Emergency Nurse 2000; 7(9):31-9.
15. อุทัย พรรณสุดใจ. แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับความพึงพอใจ 2545. สืบค้นจาก sites.google.com>site>bth-thi-z-wrrnkrrm-thi-keiywkhxny>aua.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30