การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ผู้แต่ง

  • ลมัย แสงเพ็ง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยสูตินรีเวช โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บทคัดย่อ

บทนำ: จากการศึกษาวิจัยผลสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ของหอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ในปี 2561 พบมีเพียงร้อยละ 73.33 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วัสดุและวิธีการศึกษา: ดำเนินการศึกษา 4 ระยะ1) วิเคราะห์ค้นหาปัญหาและสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 3)ทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินผลกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คน ผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 4 คน และเวชระเบียนของมารดามีบุตรสุขภาพดีที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2563 จำนวน 450 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ รูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  เครื่องมือประเมินผลรูปแบบ  ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นผลการประยุกต์ใช้รูปแบบในงานประจำ สำหรับพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาล  และแบบเก็บข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: รูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประกอบด้วย ความรู้ทักษะสำคัญจำเป็นของหน่วยงาน  การพัฒนาความรู้ทักษะบุคลากร การมอบหมายงาน เครื่องมือการปฏิบัติงาน  และแนวทางการจัดบริการในคลินิก ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบพบว่า  ความคิดเห็นความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้รูปแบบในงานประจำของพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาล ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.50 – 4.70  และ  4.50-4.75 ตามลำดับ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระหว่าง .483 -.527 และ.500– .577 ตามลำดับ และผลสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนจำหน่าย พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่าย คิดเป็นร้อยละ88.6

สรุป: รูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีประสิทธิผลต่อการดำเนินงานส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหอผู้ป่วยหลังคลอด โดยผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 

References

1. World Health Organization. Ten Steps to Successful Breastfeeding (Revised 2018). Retrieved April, 30, 2018, from www.who.int/nutrition/bfhi/ten-steps/en/
2. โบว์ชมพู บุตรแสงดี, กรรณิการ์ กันธะรักษา,จันทรรัตน์ เจริญสันติ.ผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. พยาบาลสาร ; 2556 : 40 : 3,1-10
3. ลมัย แสงเพ็ง,ยุวดี วิทยพันธ์.ศึกษาเปรียบเทียบผลสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างมารดาหัวนมสั้นกับหัวนมปกติ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช.นครศรีธรรมราชเวชสาร;2561.2(1),8-18.
4. .กรรณิการ์ กันธะรักษา,นันทพร แสนศิริพันธ์ ,ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี.ศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาจารย์ : คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพยาบาลโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่; 2557.41: ฉบับพิเศษ :158-168
5. McFadden,A.,et al. Support for healthy breastfeeding mothers with healthy term babies. Cochrane Database SystRew. ;2017Published online 2017. Feb 28. PMC6464485
6. Renfrew,M.J.,McCormick,F.M.,Wade,A.,Quinn,B.&Dowswell,T.Support for healthy breastfeeding mothers with healthy term babies.Cochrane Database SystRew. Published online 2017 Feb 2017(2). PMC3966266
7. Boateng et al., Adaptation and psychometric evaluation of the breastfeeding self-efficacy scale to assess exclusive breastfeeding.Cochrane Database SystRew. Published online 2019 Feb 18. PMC6380059
8. Dennis, C. breastfeeding initiation and duration : A 1990-2000 literature review. Journal of Obstetrics Gynecologic and Neonatal Nursing ;2002. 31,12-32
9. Mclnnes, R. J., & Chambers, J. A. Supporting breastfeeding mothers: Qualitative synthesis. Journal of Advanced Nursing ;2008. 62(4), 407-427
10. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน).มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ.นนทบุรี.บริษัทหนังสือดีวันจำกัด;2018.
11. สุวิมล ว่องวาณิช. บทที่3 แบบตรวจสอยรายการประเมิน:วิธีวิทยาและเครื่องมือประเมิน.ใน สุวิมล ว่องวาณิช.บรรณาธิการ,การประเมินอภิมาน : วิธีวิทยาและประยุกต์ใช้.(หน้า 49-76).กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2549
12. Burns, N., & Grove, S.K.The practice of nursing research : conduct, critique.& utilization (5 thed).St. Louis: Elsevier Saunders;2005.
13. วิจารณ์ พานิช. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.กรุงเทพฯ. บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.พิมพ์ครั้งที่2; 2557
14. ปรีดา เรืองวิชาธร. งานพลังกลุ่มและความสุข แนวทางการบริหารแบบพุทธ สำหรับองค์กรเปลี่ยนแปลงสังคม.กรุงเทพฯ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา;2551
15. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. สรรสาระ องค์กรที่มีชีวิต(Living Organization).กรุงเทพฯ. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ;2551
16. วิจารณ์ พานิช. KM วันละคำ “จากนักปฏิบัติ KM สู่ นักปฏิบัติKM”.กรุงเทพฯ บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด ;2549
17. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. ขั้นตอนการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพรูปแบบสำหรับบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ. บริษัท ดีไซร์ จำกัด; 2542
18. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพ. กรุงเทพฯ. บริษัท ดีไซร์ จำกัด; 2543

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30