แนวโน้มอัตราการผ่าตัดคลอด ตามการจำแนก 10 กลุ่มของระบบ Robson ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2554-2561
คำสำคัญ:
อัตราการผ่าตัดคลอด, การผ่าตัดคลอดโดยไม่จำเป็น, การจำแนก 10 กลุ่มของ Robson, Robsonบทคัดย่อ
บทนำ: อัตราการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ผ่านมาขัดต่อคำแถลงขององค์การอนามัยโลกเรื่องอัตราการผ่าตัดคลอดที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินสถานการณ์การผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชตามการจำแนกของ Robson (R)
วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังแบบตัดขวางของเวชระเบียนผู้คลอดระหว่างในปี พ.ศ. 2554 - 2561 ตามการจำแนกของ Robson (R) เพื่ออธิบายสถานการณ์อัตราการผ่าตัดคลอด ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
ผลการศึกษา: จากเวชระเบียนทั้งหมด 44,676 คน พบว่า R3 เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในประชากรร้อยละ 24.5 ตามด้วย R1 และ R5 คิดเป็นร้อยละ 20.3 และ 15.6 ตามลำดับ อัตราการผ่าตัดคลอดรวมเท่ากับร้อยละ 49.5 ซึ่ง R5 R2b และ R4b เป็นสามอันดับแรกของอัตราการผ่าตัดคลอดสูงสุดประมาณร้อยละ 15.6 13.0และ 4.9ตามลำดับ แนวโน้มอัตราการผ่าตัดคลอดของ R5 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก R2b และ R4bที่มากกว่าร้อยละ 10 ตลอด 8 ปี นอกจากนี้ R10 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแสดงถึงโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่กำลังขยายขนาด
สรุป: สาเหตุหลักของอัตราการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มขึ้นคือ R5 ซึ่งเป็นผลมาจาก การผ่าตัดคลอดก่อนการเจ็บครรภ์ R2b และ R4b ในครรภ์ก่อนหน้า เพื่อลดอัตราการผ่าตัดคลอดโดยไม่จำเป็นควรพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดคลอด
References
2. Betrán AP, Ye J, Moller A-B, Zhang J, Gülmezoglu AM, Torloni MR. The increasing trend in caesarean section rates: global, regional and national estimates: 1990-2014. PloS one. 2016;11(2):e0148343.
3. Senanayake H, Piccoli M, Valente EP, Businelli C, Mohamed R, Fernando R, et al. Implementation of the WHO manual for Robson classification: an example from Sri Lanka using a local database for developing quality improvement recommendations. BMJ open. 2019;9(2):bmjopen-2018-027317.
4. Maneein M. Comparative Study of Postpartum Quality of Life between Patients Having Normal Vaginal Delivery and Cesarean Section. Journal of Health Science. 2017;24(4):648-58.
5. Clark SL, Belfort MA, Dildy GA, Herbst MA, Meyers JA, Hankins GD. Maternal death in the 21st century: causes, prevention, and relationship to cesarean delivery. American journal of obstetrics and gynecology. 2008;199(1):36. e1-. e5.
6. Villar J, Carroli G, Zavaleta N, Donner A, Wojdyla D, Faundes A, et al. Maternal and neonatal individual risks and benefits associated with caesarean delivery: multicentre prospective study. Bmj. 2007;335(7628):1025.
7. Linder N, Linder I, Fridman E, Kouadio F, Lubin D, Merlob P, et al. Birth trauma–risk factors and short-term neonatal outcome. The Journal of Maternal-Fetal & Neonatal Medicine. 2013;26(15):1491-5.
8. Moczygemba CK, Paramsothy P, Meikle S, Kourtis AP, Barfield WD, Kuklina E, et al. Route of delivery and neonatal birth trauma. American journal of obstetrics and gynecology. 2010;202(4):361. e1-. e6.
9. Padawer JA, Fagan C, Janoff‐Bulman R, Strickland BR, Chorowski M. Women's psychological adjustment following emergency cesarean versus vaginal delivery. Psychology of Women Quarterly. 1988;12(1):25-34.
10. Mutryn CS. Psychosocial impact of cesarean section on the family: a literature review. Social Science & Medicine. 1993;37(10):1271-81.
11. WHO. Appropriate technology for birth. Lancet. 1985;2:436-7.
12. Betrán AP, Torloni MR, Zhang J-J, Gülmezoglu A, Section WWGoC, Aleem H, et al. WHO statement on caesarean section rates. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology. 2016;123(5):667-70.
13. WHO. Robson classification: Implementation manual. 2017.
14. Souza J, Betran A, Dumont A, De Mucio B, Gibbs Pickens C, Deneux‐Tharaux C, et al. A global reference for caesarean section rates (C‐Model): a multicountry cross‐sectional study. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology. 2016;123(3):427-36.
15. Anekpornwattana S, Yangnoi J, Jareemit N, Borriboonhiransan D. Cesarean section rate in Siriraj hospital according to the Robson classification. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2020:6-15.
16. Khornwong S, Kovavisarach E. Cesarean section rate based on the Robson 10-group classification at Rajavithi hospital from 2015-2018. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2021.
17. Okonkwo NS, Ojengbede OA, Morhason-Bello IO, Adedokun BO. Maternal demand for cesarean section: perception and willingness to request by Nigerian antenatal clients. International journal of women's health. 2012;4:141.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น