ผลของโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่ต่อการเลิกสูบของผู้รับบริการในคลินิกอดบุหรี่ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง
คำสำคัญ:
ผู้รับบริการในคลินิก, การเลิกสูบบุหรี่, โปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่บทคัดย่อ
บทนำ: โรงพยาบาลมีบริการคลินิกอดบุหรี่ และได้พัฒนาการบริการในคลินิกมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าการเลิกโดยใช้การรักษาด้วยยาร่วมกับการบำบัดอื่น ๆ จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ยาหรือให้คำปรึกษาเพียงอย่างเดียว และอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ของยาได้ ดังนั้นจึงนำการบำบัดแบบผสมผสานมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่ต่อการเลิกสูบของผู้รับบริการ
วัสดุและวิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลเปรียบเทียบก่อน – หลัง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ผลของโปรแกรม โดยใช้ค่าร้อยละ
ผลการศึกษา: พบว่าก่อนได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างเลิกบุหรี่ไม่ได้ หลังเข้าโปรแกรมสามารถลดการสูบได้ ร้อยละ 52.5 และเลิกสูบได้สำเร็จ ร้อยละ 47.5
สรุป: โปรแกรมสามารถช่วยให้ลดการสูบ และเลิกสูบได้สำเร็จ เนื่องจากการฝึกสติมีส่วนช่วยให้ผู้สูบเกิดการตระหนักรู้และเข้าใจความรู้สึกอยากที่เกิดขึ้น การนวดกดจุดสะท้อนเท้ากระตุ้นให้หลั่งสารเคมีออกมาเหมือนกลไกการทำงานของนิโคติน รวมถึงสะท้อนไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อปรับการทำงานของร่างกาย และมีชาหญ้าดอกขาวร่วมด้วย ทำให้อยากสูบบุหรี่ลดลง
References
2. ประกิต วาทีสาธกกิจ. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สถิติและปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทย.โครงการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลกปี; 2560.
3. ธีระพงษ์ ศรีศิลป์. ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาบำบัดโรคเสพยาสูบ.วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557;10(3):256-268.
4. Chow S-C, Shao J, Wang H. Sample Size Calculations in Clinical Research. 2nd ed. Chapman&Hall/CRC; 2003: 152-153.
5. ธราดล เก่งการพานิช และคณะ. การนวดกดจุดสะท้อนเท้าเพื่อช่วยเลิกบุหรี่และควบคุมโรคความดัน โลหิตสูงและเบาหวาน.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2559.หน้า 15-18.
6.สมจิตร เสริมทองทิพย์. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้เป็นเบาหวาน.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560;25(3);66-74.
7. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. นวดกดจุดสะท้อนเท้า. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9มกราคม 2561] แหล่งข้อมูล http://www.thaihealth.or.th; 2560.
8. ศรินทิพย์ หมื่นแสน. กลุ่มวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ.วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม; 2560:16-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น