การรักษาฟันหน้าสบคร่อมโดยใช้เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ในผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้น : รายงานผู้ป่วย
คำสำคัญ:
ฟันหน้าสบคร่อม, โรคสมาธิสั้น, เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้บทคัดย่อ
ฟันหน้าสบคร่อมเป็นการสบฟันผิดปกติ ที่ฟันหน้าบนสบอยู่ในตำแหน่งหลังต่อฟันหน้าล่าง โดยในชุดฟันผสมที่เกิดจากความผิดปกติของฟันควรให้การรักษา เพื่อป้องกันฟันสึก ป้องกันโรคปริทันต์เนื่องจากเกิดการสบกระแทก และป้องกันการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและข้อต่อขากรรไกร ลดโอกาสรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่ต้องร่วมกับการผ่าตัด ลดโอกาสการเกิดความผิดปกติแบบฟันหลังล่างครอบฟันหลังบน และก่อให้เกิดความสมดุลของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวบทความนี้รายงานผู้ป่วยเด็กชายไทยอายุ 9 ปี มีโรคประจำตัวเป็นสมาธิสั้นซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็ก ผู้ปกครองพามาพบทันตแพทย์ เนื่องจากฟันหน้าล่างยื่นคร่อมฟันหน้าบน จากการตรวจในช่องปากพบฟันซี่ 11 สบคร่อมกับซี่ 41 และ ซี่ 21 สบคร่อมกับซี่ 31 จึงให้การรักษาโดยการใส่เครื่องมือจัดฟันถอดได้ที่มีแผ่นกัดฟันหลังร่วมกับสปริง ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 4 เดือน และติดตามผลการรักษาไปอีก 6 เดือน พบว่าผลเป็นที่น่าพอใจ การสบฟันของผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะปกติ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น