ความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการดำเนินงานจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงพยาบาลชุมชน กรณีศึกษา : โรงพยาบาลนาหม่อม จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • วีณา ศิริรักษ์ โรงพยาบาลนาหม่อม จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ความตระหนัก, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, COVID-19

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้เกิดอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ และในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้บุคลากรสาธารณสุขมีโอกาสเสี่ยงในการสัมผัสกับผู้ป่วยจึงได้มีการศึกษาเพื่อนำผลการวิจัยมาวางแผนพัฒนาบุคคลากรในการดูแลโรคติดเชื้อทั่วไปและโรคติดเชื้อที่อาจเกิดอุบัติใหม่ในอนาคต

วัตถุประสงค์:    เพื่อศึกษาความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนนาหม่อมต่อการดำเนินงานจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใน 3 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค  ด้านการบริหารจัดการโรคและด้านการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการติดเชื้อ

วัสดุและวิธีการศึกษา:     กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลนาหม่อมปี พ.ศ. 2563 จำนวน148 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบใช้ Samples t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางต่อการดำเนินงานจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในภาพรวมอยู่ในระดับดีกลุ่มตัวอย่างที่เพศและประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ต่อการดำเนินงานจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่แตกต่างกัน (p > .05) และกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มงานต่างกันมีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ต่อการดำเนินงานจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนนาหม่อมมีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ต่อการดำเนินงานจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับดี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-01