สถานการณ์การเจ็บป่วยและค่ารักษาพยาบาล โรคปอดบวม ในเด็กอายุ 1 เดือนถึง 5 ปี ที่นอนโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม, โรคปอดบวมบทคัดย่อ
บทนำ: ปอดบวมเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเด็กที่มีอายุ 1 เดือนถึง 5 ปี ถึงร้อยละ 15 ของเด็กที่เสียชีวิตทั้งหมด
วัตถุประสงค์: ศึกษาสถานการณ์การเจ็บป่วย และค่ารักษาพยาบาลโรคปอดบวมในเด็กอายุ1 เดือนถึง 5 ปีที่นอนโรงพยาบาล
วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการนำข้อมูลผู้ป่วยเด็กโรคปอดบวมอายุระหว่าง 1 เดือนถึง 5 ปีที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสงขลา จากฐานข้อมูล 43 แฟ้มของโรงพยาบาล ตามปีงบประมาณ ระหว่างเดือน 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2561 จำนวน 1,534ราย โดยนำข้อมูลที่สมบูรณ์จากฐานข้อมูลในรูปแบบExcel เข้าสู่โปรแกรม R แล้ววิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยเด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ปีงบประมาณ 2559 - 2561 มีแนวโน้มลดลงจาก ปี 2559 ร้อยละ 89.9 เป็นร้อยละ 75.4 ในปี 2561 เพศชายเป็นโรคปอดบวมมากกว่าเพศหญิง ช่วงอายุพบมากที่สุดคือ 1ปีแรกและภาวะแทรกซ้อน พบเกิดจากระบบหายใจล้มเหลว(ร้อยละ 5.7) ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (ร้อยละ 0.8 ) อัตราการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน ร้อยละ 2.8 อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 0.25 ซึ่งพบในผู้ป่วยมีโรคร่วม วันนอนรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 4.5 วัน ค่ารักษาเฉลี่ย 9,928.6 บาทต่อราย ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีค่ารักษาที่จ่ายจริงเกินค่ารักษาที่ได้รับจากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติโดยขาดทุนจำนวน 2270.3 บาทต่อราย
สรุป: วันนอนและค่ารักษา สูงกว่าเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ควรทบทวนระยะเวลานอนโรงพยาบาลและค่ารักษาพยาบาลตามเกณฑ์ที่เหมาะสมตามความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อน และความซับซ้อนในการรักษาพยาบาล และส่งเสริมวางแผนจำหน่ายในเด็กกลุ่มเสี่ยงมีโรคร่วมเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มนี้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น