อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะหายใจเร็วชั่วคราว ของทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ นามม่อง หน่วยงานหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
  • สรณ์สุภางค์ โอ้วประเสริฐ หน่วยงานหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
  • เบญญาภา ธิติศุภพร หน่วยงานหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิด, ทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิด พบได้บ่อยในทารกที่เกิดครบกำหนดในรายที่รุนแรงมากอาจต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือคุกคามถึงชีวิตได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

วัสดุและวิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย แบบการศึกษาย้อนกลับ กลุ่มตัวอย่าง คือ เวชระเบียนของทารกที่คลอดในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่าง ตุลาคม 2560 จนถึง กันยายน 2561 แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มทารกแรกเกิดที่หายใจปกติ จำนวน 335 ฉบับ โดยมีการกำหนดคุณสมบัติในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของมารดา และแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทารก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค

ผลการศึกษา: พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิดคือ วิธีการคลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและใช้เครื่องสุญญากาศ เมื่อเทียบกับมารดาที่คลอดปกติทางช่องคลอด บุตรมีโอกาสเกิดภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิดเพิ่มขึ้น 1.9 และ 6.2 เท่า ตามลำดับ และเชื้อชาติของมารดา โดยพบว่า มารดาชาวพม่าและชาวเขา เมื่อเทียบกับมารดาชาวไทย บุตรมีโอกาสเกิดภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิดเพิ่มขึ้น 1.6 และ 9.2 เท่าตามลำดับ

สรุป: ผลของการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนป้องกันการเกิด ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิด โดยเฉพาะในกลุ่มมารดาชาวพม่าและชาวเขา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01