การศึกษาการให้ความรู้และความดันลูกตาของผู้ป่วยโรคต้อหิน ในโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผู้แต่ง

  • อนันต์ พรมาตา กลุ่มงานจักษุ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

คำสำคัญ:

ความรู้โรคต้อหิน, โรคต้อหิน, ความดันลูกตา

บทคัดย่อ

บทนำ: ต้อหินเป็นสาเหตุอันดับสองของภาวะตาบอดทั่วโลกรองจากต้อกระจก การควบคุมความดันลูกตาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการชะลอโรค

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความดันลูกตาก่อนและหลังการใช้แบบบันทึกการหยอดยาเปรียบเทียบความรู้โรคต้อหินก่อนและหลังการให้ความรู้วันที่ 1 และวันที่ 30 และศึกษาปริมาณการใช้ยาหยอดตา

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Quasi Experimental study แบบกลุ่มเดียว โดยมีอาสาสมัครโรคต้อหิน 50 ราย (99 ตา) ที่ใช้ยาหยอดตาควบคุมระดับความดันลูกตา ไม่รวมผู้ที่ผ่านการผ่าตัดหรือยิงเลเซอร์สำหรับต้อหิน

ผลการศึกษา: อาสาสมัครเป็นชายและหญิงร้อยละ 56 และ 44 ตามลำดับ มีอายุเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 69.82 ± 10.05 ปี และพบมีโรคประจำตัวร้อยละ 74 เป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด   ร้อยละ 56 พบระดับความดันลูกตาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.0005) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้แบบบันทึกการหยอดยาจาก 17.49 ± 5.07 เป็น 15.00 ± 3.71 มิลลิเมตรปรอท โดยมีเพียงร้อยละ 4 (2 คน) ลืมหยอดยา 1 ครั้ง ผลของการให้ความรู้โรคต้อหินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.0005) โดยใช้แบบทดสอบ (10 ข้อ) ก่อนและหลังการให้ความรู้จาก 8.30 ± 1.27 เป็น 9.72 ± 0.83 และพบว่าอาสาสมัครร้อยละ 100 ใช้ยาหยอดตา 1 ขวดใน 1 เดือน

สรุป: จากการศึกษาการใช้แบบบันทึกการหยอดยา และการให้ความรู้โรคต้อหินสามารถควบคุมระดับความดันลูกตาได้ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01