รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
การจัดการขยะ, การมีส่วนร่วม, ตำบลท่าวังทองบทคัดย่อ
บทนำ: จากการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น การโยกย้ายของคนต่างถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ รวมทั้งรูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนไปของคนในชุมชน ทำให้ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยาประสบปัญหาการจัดการขยะ ทั้งขยะจากครัวเรือน ชุมชน และบ่อขยะ ส่งผลให้มีปริมาณขยะของชุมชนรวม 15 ตันต่อวัน
วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อผลลัพธ์การสร้างสังคมสุขภาวะของชุมชน ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
วัสดุและวิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ดำเนินการใน 3 ระดับคือ กิจกรรมครัวเรือน กิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมชุมชน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลเสริมพลังเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานด้วยวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle; PDCA) โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนโดยชุมชนเอง
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่า ผลของรูปแบบการจัดการขยะชุมชนตำบลท่าวังทอง ได้ผลดังนี้ 1) มีการจัดทำมาตรการชุมชน 2) กำหนดให้ทุกชุมชนทุกครัวเรือน ทำความสะอาดหน้าบ้าน 3) มีการรณรงค์ให้ เป็นต้นแบบการลดใช้ถุงพลาสติก ด้วยการใช้ถุงผ้า ตะกร้าจ่ายตลาด และการใช้ปิ่นโต 4) รณรงค์ ตามมาตรการ 3Rs 5) สร้างขวัญและกำลังใจจัดประกวดหมู่บ้านในชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบ สร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินงานการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน ส่วนผลลัพธ์การสร้างสังคมสุขภาวะ พบว่าชุมชนในตำบลจำนวนทั้งสิ้น 14 หมู่บ้าน ร่วมดำเนินการการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม โดยมีการลงนาม “ปฏิญญาเมืองพะเยา ว่าด้วยการบริหารจัดการขยะ และหน้าบ้าน น่ามอง อย่างแท้จริง 100 %” ส่งผลให้ปริมาณขยะในแต่ละชุมชนลดลง
สรุป: ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการขยะของชุมชนในตำบลท่าวังทอง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการกำหนดให้ทุกครัวเรือนรับผิดชอบต่อขยะที่ตนเองก่อขึ้น โดยมีรูปแบบการดำเนินงาน ดังนี้ การกำหนดมาตรการชุมชนการร่วมมือรักษาความสะอาดในสถานที่สาธารณะการรณรงค์งดใช้พลาสติก การคัดแยกประเภทขยะต้นทาง และการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน ทั้งนี้ การดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม ต้องประกอบไปด้วย ประชาชน ชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จึงจะประสบความสำเร็จ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น