สอนเรื่องการแจ้งข่าวร้ายแก่นักศึกษาแพทย์ผ่าน Interactive learning program

ผู้แต่ง

  • กาญจนา วงศ์ศิริ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

บทนำ : การเรียนเรื่องทักษะการสื่อสารมีความสำคัญต่อ นักศึกษาแพทย์อย่างยิ่งโดยเฉพาะเรื่องการแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยเพื่อให้รับข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วนผู้แจ้งข่าวร้ายหรือแพทย์เองก็ต้องใช้ศิลปะในการสื่อสารเพื่อลดผลกระทบทางจิตใจของผู้ป่วยให้น้อยที่สุด หลายครั้งแพทย์ถูกฟ้องจากการสื่อสารที่เข้าใจไม่ตรงกันกับผู้ป่วย เรื่องทักษะการสื่อสารผ่านจึงเป็นความจำเป็นที่ นักศึกษาแพทย์ ต้องเรียนและมักเรียนผ่านการเรียนแบบ lecture เป็นส่วนใหญ่ทำให้ขาดความน่าสนใจในการเรียน และไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ดีพอ                   

วัตถุประสงค์ : เพื่อฝึกให้ นักศึกษาแพทย์รู้สึกเหมือนมีประสบการณ์ร่วมในการดูแลผู้ป่วยจริง สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสนุกและมีส่วนร่วมในการเรียน

วัสดุและวิธีการศึกษา : นักศึกษาแพทย์ปี 4-6 เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 55 คน ทุกคนติดตั้ง program Poll everywhere ผ่านมือถือของตนเอง เพื่อเข้ามาถามคำถาม ตอบคำถาม และเสนอความคิดเห็นแบบreal time  อย่างอิสระโดยไม่มีการระบุตัวตนของ นักศึกษาแพทย์ ความคิดเห็นและคำถามของทุกคนจะแสดงผ่านจอโปรเจคเตอร์ใหญ่ด้านหน้า

เริ่มต้นการเรียนอาจารย์ผู้สอนจะเล่าเหตุการณ์เคสผู้ป่วยจริงจำนวน 2 เคส ซึ่งเคยเกิดความผิดพลาดจากกระบวนการการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ระหว่างนี้จะให้นักศึกษาแพทย์ วิเคราะห์ เพื่อหาจุดบกพร่องของกระบวนการการสื่อสารผ่าน Interactive learning program ควบคู่กับการสอนทฤษฎีเรื่อง breaking bad news, Five emotional stageร่วมด้วย

ผลการศึกษา:นักศึกษาแพทย์ ทั้ง 55 คน รู้สึกสนุกและต้องการให้สอนแบบ interactive learning 100% , มีความเข้าใจและมีความมั่นใจในการแจ้งข่าวในการแจ้งข่าวร้ายมากขึ้น 95%

สรุป : การสอนแบบ interactive learning จากเคสผู้ป่วยจริงทำให้ นักศึกษาแพทย์ เข้าใจและมั่นใจในการนำไปใช้จริงมากขึ้นและวิธีการเรียนแบบนี้เหมาะกับ นักศึกษาแพทย์ ชาวไทยที่มีความเขินอาย ให้มามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระและกล้าซักถามมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01