อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ กรณีศึกษาเจ็ดจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วิกฤตนรากรณ์ คงแดง โรงพยาบาลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุทางถนน, การเสียชีวิต, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต

บทคัดย่อ

บทนำ: การบาดเจ็บบนท้องถนนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการตายทั่วโลกมากกว่า 1.2 ล้านคนต่อปี ผู้ป่วยบาดเจ็บ 20 ถึง 50 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะประเทศไทยที่มักพบอัตราการเสียชีวิตสูงอย่างมากในช่วงเทศกาลปีใหม่

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนช่วงปีใหม่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนช่วงปีใหม่

วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการศึกษาวิจัย แบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (Cross-sectional analytical study) ตัวอย่างการศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2551 – 2558 จำนวน 14,063 รายสถิติที่ใช้ได้แก่ chi square, fisher exact test และ logistic regression

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 14,063 ราย ผู้ใช้รถจักยานยนต์ ร้อยละ 80.0อัตราการดื่มสุรา ร้อยละ 19.0เสียชีวิต ร้อยละ 1.3ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต ตัวแปรจังหวัด ได้แก่ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุในจังหวัดปัตตานีและสตูลตัวแปรถนนได้แก่ ถนนทางหลวงและถนนในเมือง ตัวแปรการบริโภคแอลกอฮอล์ได้แก่ผู้ประสบอุบัติเหตุทีมีการดื่มแอลกอฮอร์และไม่ทราบว่าดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ตัวแปรการใช้อุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ไม่ทราบว่าใช้อุปกรณ์ป้องกันหรือไม่

สรุป: การดื่มแอลกอฮอล์ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศในช่วงปีใหม่ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะพยายามใช้มาตรการทางกฎมายอย่างต่อเนื่อง ถนนในชุมชนมักเป็นจุดเสี่ยงของการเสียชีวิต ดังนั้นการปรับปรุงมาตรฐานถนน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเสียชีวิตจึงมีความสำคัญอย่างมาก

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01