การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน ในการใช้ยาเคมีบำบัด “ซิสพลาติน”แบบทุก 3 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับ แบบทุกสัปดาห์ ร่วมกับการฉายรังสีในผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอระยะลุกลามเฉพาะที่, การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
คำสำคัญ:
มะเร็งชนิดสความัสบทคัดย่อ
บทนำ: โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มีอุบัติการณ์ต่อปีทั่วโลก มากกว่า 550,000 ราย โดยประมาณ 90% เป็นชนิดสะความัส (Squamous cell carcinoma) ผู้ป่วยส่วนมากมักมาพบแพทย์เมื่อโรคอยู่ในระยะลุกลามแล้ว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน ในการใช้ยาเคมีบำบัด ซิสพลาติน (Cisplatin) แบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำทุก 3 สัปดาห์ (80-100 mg/m2 เข้าเส้นเลือด) เปรียบเทียบกับการให้ยาทุกสัปดาห์ (ขนาด 30-40 mg/m2 เข้าเส้นเลือด) ร่วมกับการฉายรังสี ในผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอระยะลุกลามเฉพาะที่
วัสดุและวิธีการศึกษา: ผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดสความัส (Squamous cell carcinoma) จำนวน 40 คน ที่มารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น ระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2560 - ธันวาคม พ.ศ. 2560 ถูกรับเข้างานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม คนไข้ได้รับการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีสุ่มด้วยจดหมายปิดผนึก คือ กลุ่ม A ฉายรังสีร่วมกับ เคมีบำบัด Cisplatin ทุก 3 สัปดาห์ และ กลุ่ม B ฉายรังสีร่วมกับ เคมีบำบัด Cisplatin ทุกสัปดาห์ แล้วประเมินความเป็นพิษเฉียบพลัน ที่สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์สุดท้ายของการรักษาด้วย NCI CTCAE 4.03
ผลการศึกษา: การฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัดทั้งสองแบบ มีความเป็นพิษเฉียบพลันและอัตราการได้รับยาถึงระดับเป้าหมายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อประเมินด้วย NCI CTCAE 4.03 การให้ยาแบบทุก 3 สัปดาห์ สัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักลดที่สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์สุดท้ายของการรักษา มากกว่า การให้ยาแบบ ทุกสัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.011 และ p = 0.047 ตามลำดับ) และพบว่าการให้ยาแบบทุกสัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามแผนการรักษาสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.043) อย่างไรก็ตามยังต่ำกว่าผลจากการสืบค้นงานวิจัยในอดีต
สรุป: การฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด Cisplatin ทุกสัปดาห์ ไม่ได้มีความเป็นพิษเฉียบพลันน้อยกว่าการให้ยาแบบทุก 3 สัปดาห์ เมื่อประเมินด้วย NCI CTCAE 4.03 และมีอัตราการได้รับยาถึงระดับเป้าหมายเท่ากัน แต่พบว่ามีน้ำหนักลดน้อยกว่าและอัตราการเสร็จสิ้นการรักษาสูงกว่า การให้ยาเคมีบำบัด Cisplatin จากผลการศึกษาจึงแนะนำว่าการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด Cisplatin ทุกสัปดาห์สามารถใช้ทดแทนการให้ยาแบบมาตรฐานได้ในเวชปฏิบัติ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น