คุณภาพชีวิตผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก หลังรับการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมบทคัดย่อ
บทนำ : กระดูกสะโพกหักเป็นปัญหาสำคัญต่อภาวะสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตไม่เหมาะสมกับช่วงวัย
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตแต่ละมิติของผู้ที่มีประวัติกระดูกสะโพกหักและรับการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม จากโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วัสดุและวิธีการวิจัย : ศึกษาแบบภาคตัดขวางและรายงานผลเปรียบเทียบเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก อายุไม่เกิน 80 ปี ที่มารับการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม จากโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ระหว่างปีงบประมาณ 2558-2560 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 83 ราย ใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตแบบสั้น 36 ข้อ (36-item short-form survey ; SF-36) โดยส่งแบบประเมินทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ ANOVA
ผลการศึกษา : ผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 83 ราย อายุเฉลี่ย 66.2 ± 12.41 ปี ร้อยละ 89.16 อายุมากกว่า 50 ปี ร้อยละ 79.5 เป็นเพศหญิง ประวัติบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มร้อยละ 54.2 ระยะเวลาหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกมากกว่า 1 ปีร้อยละ 71.1 จำนวนวันนอนโรงพยาบาลตามเกณฑ์การผ่าตัดไม่เกิน 13 วันร้อยละ 42.2 มีโรคประจำตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดร้อยละ 60.2 บุตร/หลานเป็นผู้ดูแลหลักร้อยละ 77.1 สภาวะก่อนรับการผ่าตัดต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงร้อยละ 47 และก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลสามารถเดินได้เองร้อยละ 6 คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้รับการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมร้อยละ 51.53 จำแนกเป็นคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายร้อยละ 42.35 และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพใจร้อยละ 56.42 มิติการทำงานทางสังคม (Social functioning ; SF) มีระดับคุณภาพชีวิตเฉลี่ยสูงสุดที่ร้อยละ 63.42 รองลงมาเป็นมิติการมีชีวิต (Vitality ;VT) ร้อยละ 62.83 ส่วนมิติข้อจำกัดจากการทำหน้าที่ทางกาย (Role limitation due to physical problems ; RP) มีคุณภาพชีวิตต่ำสุดเพียงร้อยละ 29.21
สรุป : คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม สามารถนำมาวางแผนพัฒนาคุณภาพการพยาบาลแต่ละมิติตั้งแต่แรกรับถึงการวางแผนจำหน่ายจากโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตเหมาะสมตามช่วงวัยหลังรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น