ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่มีภาวะเนื้อเยื่อผนังช่องท้องเน่าและหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด: รายงานผู้ป่วยและทบทวนวรรณกรรม

ผู้แต่ง

  • วิรชัย สนธิเมือง
  • ธัญลักษณ์ นวพันธ์

บทคัดย่อ

ไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยทางศัลยกรรม ผลการรักษาส่วนใหญ่ดีถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว ไส้ติ่งอักเสบทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายแบบอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ คณะผู้ศึกษารายงานผู้ป่วยเด็กไส้ติ่งอักเสบที่มีภาวะเนื้อเยื่อผนังช่องท้องเน่าและหนองในช่องเยื่อหุ้มปอดและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยเด็กชายไทยอายุ 11 ปี มีอาการปวดท้อง ตรวจร่างกายพบหายใจเร็ว ชีพจรเร็วและปวดท้องด้านขวา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเม็ดเลือดขาวสูงผลตรวจทางรังสีวิทยาพบ appendiceal abscess ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการให้สารน้ำทดแทน ยาปฏิชีวนะ และได้รับการผ่าตัด exploratory laparotomy พบ rupture appendicitis, retroperitoneal  abscess, necrotizing fasciitis of retroperitoneum and lateral wall abdomen  ทำ appendectomy, drainage of abscess, excisional debridement of retroperitoneum and abdominal wall หลังผ่าตัดผู้ป่วยย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก ผลเพาะเชื้อหนองในช่องท้อง Streptococcus not gr. A, B, D และ E.coliจึงเปลี่ยนยาปฏิชีวนะตามความไวของเชื้อต่อมาผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจผลตรวจทางรังสีวิทยา พบ right pleural effusion และ pericardial effusion วินิจฉัย empyema thoracis รักษาโดยการใส่ท่อระบายทรวงอกและผ่าตัด decortication หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาการดีขึ้นสามารถหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล 33 วัน   มาติดตามการรักษาต่อเนื่อง  1 ปี 1 เดือน ปกติดีไม่มีภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่มีภาวะแทรกซ้อน retroperitoneal abscess, necrotizing fasciitis of abdominal wall และ empyema thoracis พบได้น้อยมาก การวินิจฉัยและรักษาต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ การวินิจฉัยทำได้โดยอาศัย อาการ อาการแสดง การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจทางรังสีวิทยาโดยเฉพาะ CT scan ซึ่งช่วยให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ การรักษาทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะและการผ่าตัด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-01