การจัดการโรคไตเรื้อรังโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังในสถานบริการปฐมภูมิจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ พานทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการโรคไตเรื้อรังโดยบูรณาการจากรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังซึ่งมี 6 องค์ประกอบคือ การสนับสนุนการดูแลตนเอง การสนับสนุนการตัดสินใจ การออกแบบการให้บริการ การใช้ระบบข้อมูลทางคลินิก การปรับปรุงหน่วยบริการสุขภาพ และการใช้ทรัพยากรและนโยบายของชุมชนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 30 รายระยะ 3 หรือ 4 เข้าร่วมในโปรแกรม ตั้งแต่ มกราคม ถึง มิถุนายน 2560 วิเคราะห์ผลของโปรแกรมก่อนและหลังการศึกษาจากคะแนนความรู้พฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับค่าเฉลี่ยซีรั่มครีเอตินิน อัตราการกรองของไต และระดับความดันโลหิต หลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสทอลิค และระดับค่าเฉลี่ยซีรั่มครีเอตินิน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผู้ที่มีระดับอัตราการกรองของไตลดลงมีระดับอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นหลังเข้าโปรแกรม ระดับความรู้และทักษะการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการจัดการโรคไตเรื้อรัง ในสถานบริการปฐมภูมิโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรัง เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-01

How to Cite

1.
พานทอง อ. การจัดการโรคไตเรื้อรังโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังในสถานบริการปฐมภูมิจังหวัดนครศรีธรรมราช. MNST Med J [อินเทอร์เน็ต]. 1 มกราคม 2018 [อ้างถึง 16 มิถุนายน 2025];1(2):48-5. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/248193