ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เครือข่ายโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
บทนำ: โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพซึ่งมักมีภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญตามมาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงมีความสำคัญเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาการให้บริการผู้ป่วย ส่งเสริมการดูแลตนเอง ลดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและ ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ในครอบครัวชุมชน
วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytic Study) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงซึ่งรับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)เทียบสัดส่วน จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ( WHOQOL-BREF-THAI ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (multiple regression)
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ76 มีอายุระหว่าง 34-88 ปี อายุเฉลี่ย63.59 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 70.70 การศึกษาระดับประถมร้อยละ 88.10 มีรายได้ครอบครัวระหว่าง 600-5,000 บาท ร้อยละ 59.30 และส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอร้อยละ 63.60 อาศัยอยู่กับครอบครัวร้อยละ 91.90 ระยะเวลาป่วยโรคเบาหวานเฉลี่ย 2.72 ปี โรคความดันโลหิตสูงเฉลี่ย 6.48 ปี โรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูงเฉลี่ย 1.95 ปี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตไม่ได้ร้อยละ 54.50 ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 3.95, S.D.=0.32) เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่าคุณภาพชีวิตด้านร่างกายมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (= 4.15, S.D.=0.44) และด้านสิ่งแวดล้อมมีคะแนนน้อยที่สุด (= 3.74, S.D.=0.41) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้แก่ อายุ ความเพียงพอของรายได้ และการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( p< .05, r2=.46 ) ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ด้านนี้ สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้ร้อยละ 46.4
สรุป: ควรมีการพัฒนาระบบการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในหน่วยบริการปฐมภูมิให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง คำนึงถึงผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมและหารูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น