สถานการณ์ผ่าตัดคลอดโรงพยาบาลชุมชน ระดับ M2: กรณีศึกษาโรงพยาบาลหลังสวน

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา หาญสมบูรณ์
  • เอกมาศ วงศ์ไพรินทร์ โรงพยาบาลสตูล

บทคัดย่อ

บทนำ: การผ่าตัดคลอดเป็นหัตถการทางสูติศาสตร์ที่สำคัญ สามารถลดโอกาสการเสียชีวิตของมารดาและทารกที่อยู่ในช่วงวิกฤติของการคลอด ในขณะที่การผ่าตัดคลอดทั่วโลกมีประมาณ 18.5 ล้านครั้งต่อปี รัฐบาลไทยส่งเสริมนโยบายการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลชุมชนระดับ M2 มากกว่า 3 ปี

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการผ่าตัดคลอดของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาล ระดับ M2

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษารูปแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากโรงพยาบาลหลังสวน จำนวน 4,632 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และประมาณค่าด้วย 95% confidence interval

 ผลการศึกษา: ตัวอย่างในการศึกษา อายุเฉลี่ย 26.8 ปี  อัตราการผ่าตัดคลอดโดยรวม คิดเป็นร้อยละ 54.5โดยปีพุทธศักราช 2559 พบอัตราการคลอดสูงสุด 1,214 ราย และอัตราผ่าตัดคลอดสูงสุด ร้อยละ 55.7 สูงกว่าอัตราการผ่าคลอดระดับประเทศ โดยอัตราการผ่าตัดคลอดไม่ได้มีความสัมพันธ์กับปริมาณหญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการคลอดบุตร

 สรุป: ประเทศไทยมีนโยบายพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนให้สามารถรองรับบริการผ่าตัดคลอด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของการเข้ารับบริการทางการแพทย์และลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ส่งผลให้อัตราการเข้ารับบริการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลชุมชนเพิ่มสูง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-01