จากโรงพยาบาลสู่ชุมชน “ดูแลด้วยใจ : Cervical Spinal Injury Care” PCT Orthopedic
บทคัดย่อ
จากข้อมูลปีงบประมาณ 2555–2558 พบว่า Cervical-Spine Injury เป็นกลุ่มโรคที่สำคัญของกลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal cord injury) พบร้อยละ25 ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชจากการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรสำคัญของครอบครัว ร้อยละ 83.1พบในเพศชาย อายุเฉลี่ย 44 ปี โดยเฉพาะในราย Spinal cord injury ที่การบาดเจ็บส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทไขสันหลังบกพร่อง (Neuro deficit) จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งในขณะอยู่โรงพยาบาลและอาจส่งผลให้ผู้ป่วยทุพพลภาพในที่สุด ผู้ป่วยจะมีความพร่องในการดูแลตนเอง เป็นผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากทั้งโรงพยาบาลและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ศักยภาพสูงสุดที่มีโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น โดยเฉพาะในวัยรุ่นและวัยทำงาน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น