ผลของการออกกำลังกายในตารางเก้าช่องต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ตารางเก้าช่อง, ผู้สูงอายุ,, การทรงตัวบทคัดย่อ
บทนำ : วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเสื่อมของระบบที่เกี่ยวกับการควบคุมการทรงตัวทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายในตารางเก้าช่องที่มีผลต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วิธีการศึกษา : ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วยผู้สูงอายุจำนวน 70 คน สุ่มแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน กลุ่มทดลองทำการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายพื้นฐาน หลังจากนั้นทำการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายในตารางเก้าช่องร่วมกับเปิดเพลงแบ่งเป็น 3 ช่วง คือช่วงแรกใช้จังหวะบีกิน ช่วงที่สองใช้จังหวะชะชะช่า ช่วงที่สามใช้จังหวะรุมบ้า ช่วงละ 5-10 นาที รวม 15-30 นาที โดยฝึกวันละ 1 ครั้ง อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมทำการ ฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายพื้นฐาน โดยฝึกวันละ 1 ครั้ง อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินความสามารถในการทรงตัวด้วย Functional Reach Test และ 8 Foot Up and Go Test ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8
ผลการศึกษา : พบว่าค่าความสามารถในการทรงตัว (Functional Reach Test) ของกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ค่าความสามารถในการทรงตัว (Functional Reach Test) ของกลุ่มควบคุม ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ค่าความสามารถในการทรงตัว (8 Foot Up and Go test) ของกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ค่าความสามารถในการทรงตัว (8 Foot Up and Go test) ของกลุ่มควบคุม ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่4 และสัปดาห์ที่ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ค่าความสามารถในการทรงตัว (Functional Reach Test) ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ค่าความสามารถในการทรงตัว (8 Foot Up and Go test) ของกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
สรุป : โปรแกรมการออกกำลังกายในตารางเก้าช่องสามารถเพิ่มความสามารถในการทรงตัวได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น