ประสิทธิภาพของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านส่งผลต่อสมรรถภาพปอดและ คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เอมอร พูลพิพัฒน์

คำสำคัญ:

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทนำ : การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสามารถลดอาการของโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ซึ่งประกอบด้วยการฝึกหายใจ การฝึกกระแอม การฝึกผ่อนคลาย การฝึกท่าทางลดหอบเหนื่อยและการออกกำลังกาย แต่การศึกษาในรูปแบบการออกกำลังกายที่บ้านยังมีน้อย

 วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้าน ที่มีผลต่อสมรรถภาพปอดและคุณภาพชีวิต ก่อนและหลังการฝึกออกกำลังกาย ใน 12 สัปดาห์และ 24 สัปดาห์ ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เปรียบเทียบค่าสมรรถภาพปอดและคุณภาพชีวิตระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านและกลุ่มควบคุม

 วิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 29 คน ที่มีอาการคงที่และได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ทำการสุ่มแยกอาสาสมัครออกเป็น กลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการรักษาพื้นฐาน และกลุ่มออกกำลังกายซึ่งได้รับการรักษาพื้นฐานร่วมกับการออกกำลังกายตามโปรแกรมที่บ้าน 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 24 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการตรวจวัดสมรรถภาพปอด ประเมินคะแนนความเหนื่อยด้วย mmRC และตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตด้วย ST.George respiratory questionnaire (SGRQ) ก่อนและหลังรับโปรแกรมการออกกำลังกาย

 ผลการศึกษา : ค่าสมรรถภาพปอด คะแนนความเหนื่อย และคุณภาพชีวิต ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการออกกำลังกาย สัปดาห์ที่ 12 และสัปดาห์ที่ 24 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม

 สรุป : การฝึกด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่ออกแบบขึ้นไม่มีผลเปลี่ยนแปลงค่าสมรรถภาพปอด คะแนนความเหนื่อย และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-01